วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2551

การพัฒนาบุคลิกภาพของผู้ให้บริการ



โดย อ.สมิต สัชฌุกร
ทุกคนต่างมีความปรารถนาที่จะเป็นผู้มีความภาคภูมิใจในบุคลิกภาพของตนเอง แต่บางครั้งก็ไม่มีความแน่ใจว่าบุคลิกภาพแบบใดที่น่าพอใจที่สุด และในบางครั้งเราก็แทบจะไม่เข้าใจด้วยซ้ำไปว่า บุคลิกภาพนั้นหมายถึงสิ่งใดกันแน่ บางคนมีความเข้าใจเพียงว่า การแต่งกายดี การมีใบหน้า ท่าทาง และรูปร่างที่ดี เป็นสิ่งแสดงถึงบุคลิกภาพที่น่านิยม เลื่อมใส ศรัทธา ความจริงบุคลิกภาพไม่ได้หมายถึงเพียงรูปร่าง หน้าตา ท่าทางภายนอก แต่รวมไปถึงนิสัยใจคอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏให้เห็นจากภายนอกในทันที
ถ้าเราไม่สามารถวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่า บุคลิกภาพคืออะไรแล้ว ก็คงจะไม่ทราบว่า เราจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือเสริมสร้างบุคลิกภาพไปในแนวใด โดยเฉพาะบุคลิกภาพของผู้ให้บริการจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในงานบริการ ความสำเร็จและความล้มเหลวของงานบริการอาจมีสาเหตุมาจากบุคลิกภาพของผู้ให้บริการก็ได้ถ้าจะคิดอย่างกว้าง ๆ ถึงความหมายของคำว่าบุคลิกภาพแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมหรือลักษณะเฉพาะประจำตัวของบุคคลหนึ่ง ๆ เกี่ยวกับปฏิกิริยาโต้ตอบกับบุคคลอื่น ๆ ในการปรับตัวให้เหมาะสมต่อสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมแก่ตัวเอง
ในขั้นต้นนี้เราควรที่จะแยกให้ชัดระหว่างคำสองคำ คือคำว่า บุคลิกภาพ (personality) คือ ผลรวมของพันธุกรรมและประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล กับคำว่า บุคลิกลักษณะ (trait) อันมีความหมายแคบและเจาะจงไปในด้านลักษณะของบุคคลที่แสดงออกให้ปรากฎเห็นได้ภายนอกอย่างชัดเจน เช่น ลักษณะรูปร่าง หน้าตา สีหน้า กริยาท่าทาง คำพูด น้ำเสียง ที่ปรากฏแก่ผู้พบเห็น
ความสำคัญของบุคลิกภาพต่องานบริการ
บุคลิกภาพ สร้างความรู้สึกต่อผู้พบเห็นว่า ชอบหรือไม่ชอบ หรือเกิดความรู้สึกต่อคน ๆ นั้นอย่างไร เช่น เป็นคนมีเสน่ห์น่าคบหาสมาคมด้วย มีสง่าน่าเกรงขาม หรือกลับเป็นตรงข้ามคือ ไม่น่าคบเสียเลย บุคลิกภาพทำให้คนเกิดความรู้สึกทางใจ ซึ่งทำให้เกิดอารมณ์แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องใช้ความคิด สติปัญญา หรือการตัดสินใจที่ต้องใช้เหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น
ลักษณะบุคลิกภาพที่ผู้ให้บริการพึงพิจารณา
นักจิตวิทยาแบ่งลักษณะบุคลิกภาพออกเป็นแบบต่าง ๆ เพื่อเลือกอธิบายตามทฤษฎีของตน ที่ใคร่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ การแบ่งบุคลิกภาพเพื่อแสดงผลดีผลเสียของแต่ละประเภท ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะดึงดูด ลักษณะเป็นกลาง และลักษณะผลักใส ซึ่งแต่ละลักษณะจะให้ผลในแต่ละสถานการณ์ต่างกันออกไป
ยังมีลักษณะที่กล่าวถึงกันมากในอีกทฤษฎีหนึ่ง แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ ลักษณะที่เก็บตัว (introvert) และลักษณะที่แสดงตัว (extrovert) และในแต่ละลักษณะมีข้อเสียรวมอยู่ด้วยกัน คนทั่วไปจะมีสองลักษณะผสมกัน แต่บางคนมีลักษณะหนักไปทางด้านเก็บตัว ซึ่งเหมาะสมสำหรับหน้าที่การงานบางอย่าง เช่น เป็นนักคิด นักประดิษฐ์ นักบัญชี ฯลฯ พวกที่มีลักษณะแสดงตัวก็เหมาะแก่งานติดต่อกับบุคคลมากหน้าหลายตา เป็นบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักธุรกิจ นักการเมือง พนักงานขาย
แท้จริงแต่ละคนมิใช่จะมีลักษณะของบุคลิกภาพตามที่กล่าวถึงข้างต้นนี้เท่านั้น ยังมีบุคลิกลักษณะอย่างหนึ่งที่โต๊ะอาหาร ในงานสังคม ในห้องประชุม กับญาติ กับเพื่อน กับคนแปลกหน้า จะมีการปรับให้เข้ากับภาวการณ์ในขณะนั้น
ผู้ให้บริการควรมีบุคลิกภาพเช่นไร
โดยที่ บุคลิกภาพ เป็นการรวมลักษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหนึ่ง ๆ อันประกอบด้วยรูปร่าง ลักษณะ อากัปกริยา คำพูด น้ำเสียง การแสดงท่าทาง รวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออก อุปนิสัยใจคอ ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ จึงแยกพิจารณาบุคลิกภาพที่ดีได้กว้าง ๆ ดังนี้
1. ส่วนเกี่ยวกับกาย ได้แก่ การมีสุขภาพพลานามัยดี แต่งกายสะอาดและเรียบร้อย กิริยาท่าทางสง่า ท่าทางร่าเริง แจ่มใส ว่องไว แต่ไม่ใช่หลุกหลิกลุกลน
2. เสียงและภาษาที่พูด น้ำเสียงแจ่มใส ชัดเจน ไม่เบาและไม่ดังเกินไป พูดจาฉะฉาน ได้เรื่องได้ราว ไม่เพ้อเจ้อหรือพูดคลุมเครือ ภาษาที่พูดเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ ใช้ภาษาเหมาะแก่บุคคลและถูกกาลเทศะ
คุณลักษณะประจำตัวอื่น ๆ เช่น มีความอดทนและอดกลั้นต่อสิ่งภายนอกที่มากระทบจิตใจ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ไม่หวั่นไหว ไม่แสดงออกถึงลักษณะของคนเจ้าอารมณ์ เป็นคนที่รับฟังความคิดเห็น และฟังข้อขัดแย้งของผู้อื่นด้วยอารมณ์ปกติ เข้าใจอะไรได้รวดเร็ว เป็นผู้มีวิจารณญาณไตร่ตรอง สุขุมคัมภีรภาพ สามารถเข้าใจอะไรได้ถูกต้อง ตัดสินใจได้เร็วและเหมาะสม วินิจฉัยปัญหาถูกต้องตามที่ควรจะเป็น
บุคลิกภาพที่ไม่ดี ซึ่งเป็นสิ่งควรระวัง ได้แก่ ขาดความคิดริเริ่ม เฉื่อยชา ผัดวันประกันพรุ่ง ขาดความสังเกต ขาดความรับผิดชอบ ขาดความระมัดระวัง ขาดความสามารถในการทำงาน ขาดการปรับปรุงตัว
ผู้ให้บริการควรปรับปรุงบุคลิกภาพอย่างไร
ทุกคนควรสำรวจว่าตนเองมีบุคลิกภาพในลักษณะใด เหมาะสมในการงานและการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมหรือไม่ ต่อจากนั้นอาจวางแนวทางปรับปรุงบุคลิกภาพ ทั้งนี้คงจะต้องใช้เวลาประกอบด้วยความพยายามและความมั่นคง
การปรับปรุงในเบื้องต้นไม่เหลือบ่ากว่าแรงอะไร เพียงแต่ระมัดระวังรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ก็จะเป็นเหตุส่งเสริมแก้ไขดัดแปลงบุคลิกภาพให้ดีขึ้น คนทั่วไปยอมรับมาตรฐานของสังคมในเรื่องความสะอาดทั้งร่างกายและเครื่องแต่งกาย การมีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย พูดจาฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ ได้เรื่องได้ราว ไม่พูดหยาบเพ้อเจ้อ ท่าทางเข็มแข็ง แคล่วคล่อง สง่าผ่าเผย อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและสถาบัน นับแต่ครอบครัวจนถึงสังคมภายนอก หากวางแนวทางไว้เช่นนี้ก็จะก้าวไปได้เรื่อย ๆ ไม่หลงทาง
วิธีปรับปรุงแก้ไขให้มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น โดยการพิจารณาการปฏิบัติตนให้เป็นคนใจกว้าง ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น เป็นตัวของตัวเอง แสวงหาคำแนะนำ กระทำแต่สิ่งที่ถูกต้องด้วยความตั้งใจและไม่ย่อท้อ ตรวจสอบผลความก้าวหน้าของตนเองอยู่เสมอ
การเสริมสร้างบุคลิกภาพ
1. การมอง สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลน ฉะนั้น เมื่อเรามองใคร เราจะต้องพยายามใช้สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดได้
2. การแต่งกาย ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด
3. การพูด ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพ ไพเราะ และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง (โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง) สถานที่ เวลา และโอกาส
4. การเดิน ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เป็นที่รบกวนผู้อื่น ต้องเดินให้ตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ
6. ทักษะในการทำงาน ในการทำงานใด ๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น
7. สุขภาพ ต้องระวังสุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ

วิธีลดความเครียดและสร้างความสุขสดชื่น

ในปัจจุบันแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ได้ยอมรับแล้วว่า ความเครียดมีผลด้านลบต่อชีวิตคนเราในหลาย ๆ ด้าน ความเครียดสามารถส่งผลถึงจิตใจ และสามารถแสดงออกมาทางร่างกายได้ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ปวดท้อง อ่อนเพลีย เป็นโรคกระเพาะ โรคความดัน นอน ไม่หลับ เป็นต้น ดังนั้น เรามักจะพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เสมอ มักจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใส เยือกเย็น และมีความ เครียดน้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือผู้ที่ออกกำลังกายน้อยเกินไป และผู้ที่ออกกำลังกายอยู่เสมอจะ เป็นผู้ที่มีรูปร่างกระชับ มีรูปทรงที่สวยงามแข็งแรง มีความต้านทานโรคต่าง ๆ สูง และมีแรงที่จะทำภารกิจ ต่าง ๆ ในชีวิตได้มาก เมื่อคิดที่จะลดความเครียดเพื่อให้เกิดความสดชื่นกับชีวิต ก็ต้องมีกิจกรรมและวิธีลดความเครียด ที่เรียก กันว่า แอโรบิค ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่คนเรา เพราะแอโรบิคเป็นการออกกำลังกาย ที่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วยความเร็วพอประมาณ ในจังหวะที่สม่ำเสมออย่างน้อย 10-15 นาที เช่น การเดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ ว่ายน้ำ เต้นรำด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ เป็นต้น นายแพทย์อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคได้กล่าวไว้ว่าขณะที่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานสูงขึ้น หัวใจและปอดได้ทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผล ต่อผู้ออกกำลังกายมากมาย ดังนี้
1. ทำให้สุขภาพทั่วไปแข็งแรงสมบูรณ์ขึ้น ทำให้มีเรี่ยวแรงต่อสู้กับกิจการงานต่าง ๆ ได้ ไม่เหนื่อยหรือ อ่อนเพลียง่าย
2. ระบบการย่อยอาหารจะดีขึ้น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยจะหมดไป
3. ขับถ่ายสะดวก ท้องไม่ผูก
4. นอนหลับง่าย และหลับได้สนิทขึ้น
5. ลดความเครียด ความวิตกกังวล หรืออารมณ์ซึมเศร้า หรืออาการประสาท อื่น ๆ
6. ทำให้ไม่อยากดื่มเหล้า เบียร์
7. ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่
8. ลดความอ้วนได้ดีที่สุด
9. ทำให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ปลอดโปร่ง มีอารมณ์เยือกเย็นและมั่นคง
10. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้น
11. สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้น
12. กระดูกจะแข็งแรงขึ้น แม้อายุจะมากขึ้นก็ตาม
13. หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น และเป็นวิธีป้องกันโรคหัวใจได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง และที่สำคัญการออกกำลังกายแบบแอโรบิค ซึ่งให้ประโยชน์ต่อทั้งร่างกายและจิตใจของเราอย่างยิ่งนี้ ไม่ได้ยุ่งยากมากมายอย่างที่ใคร ๆ คิด เพราะเพียงการเดินเร็ว ๆ หรือวิ่งเร็วครั้งละ 2-3 กิโลเมตร ใช้เวลา ประมาณ 10-20 นาที ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคแล้ว การเดินเร็ว ๆ หรือวิ่งเหยาะ ๆ จัดได้ว่าเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ง่าย สะดวก และประหยัด ที่สุด ท่านจะลองใช้วิธีการวิ่งเพื่อสุขภาพจิต เป็นการลดความเครียด เพื่อให้เกิดความสดชื่นในชีวิต โดยวิธีการ ก็คือ 1. เตรียมเสื้อผ้า เครื่องใช้ในการวิ่งแบบสบาย ๆ ตามฐานะ ใช้กางเกงขาสั้นหรือขายาว เสื้อยืด ใส่รองเท้า ผ้าใบหรือรองเท้าวิ่ง ใส่ถุงเท้าตามปกติทั่วไป 2. ควรวิ่งคนเดียว 3. หาสถานที่วิ่งที่ปลอดภัยจากการจราจร 4. คิดว่าเราวิ่งเพื่อสุขภาพจิต เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และจิตใจเบิกบาน ไม่ใช่วิ่งเพื่อจะเป็นแชมเปี้ยน หรือแข่งขันกับใคร 5. ให้เริ่มวิ่งช้า ๆ ประมาณ 200 ก้าว แล้วสลับด้วยการเดิน 50-100 ก้าว แล้วเริ่มวิ่ง 200 ก้าวอีก สลับกับการเดินไปเรื่อย ๆ ห้ามวิ่งนาน ๆ โดยไม่หยุด 6. ถ้าในบางครั้งท่านรู้สึกอยากร้องเพลง ก็ให้ร้องเพลงเบา ๆ เลือกร้องเพลงที่มีเนื้อหาของความสุข ในเวลานั้นสมองของท่านจะเป็นอิสระ ความคิดในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ที่ดีในชีวิตจะเกิดขึ้น ในช่วงนั้น การวิ่งเพื่อสุขภาพจิตจะทำให้เกิดความเบิกบาน สดชื่น เป็นกิจกรรมที่ง่ายที่สุด กระทำได้เองคนเดียว ไม่ต้องคอยเพื่อน และไม่ต้องมีอุปกรณ์อะไรมากมาย เรามาเริ่มต้นการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ๆ หรือวิ่งเหยาะ ๆ กัน วันละ 10-20 นาที เพื่อสุขภาพ กายและสุขภาพจิตกันดีกว่า

สาเหตุของความไม่สดชื่น



คนปกติทั่วไปก็มีความเครียดได้ เนื่องจากมนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาในชีวิตต่าง ๆ มากมายและซับซ้อน ตามวัย ฐานะทางสังคม และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นของแต่ละคน และมนุษย์ก็มักจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการนั้น ครบถ้วน ทำให้เกิดความไม่พอใจและสะสมเอาไว้ แม้ว่าปากจะบอกว่าไม่อยากได้แล้วก็ตาม แต่ในใจก็ยัง อยากได้สิ่งเหล่านั้น นั่นคือจุดเริ่มต้นของความเครียด เช่น อยากให้เขามารักเรา แต่เขาก็ไม่ได้รักเรา แต่ก็ยังอยากให้มารักอยู่ดี นักศึกษาอยากสอบแข่งขันเข้า มหาวิทยาลัยให้ได้ แต่ก็สอบไม่ได้ แต่ก็ยังอยากได้อยู่ดี ปัญหาอื่น ๆ เช่น รถติด เสียงดัง เศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งเราก็อยากจะให้หมดไป แต่ก็ไม่สามารถขจัดได้ บุคคลเหล่านี้เมื่อสะสมความเครียดเอาไว้นาน ๆ อาจมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจต่อไป เช่น
1. ภาวะจิต สรีระแปรปรวน หมายถึง ความเครียดทางจิตใจจะทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายได้ เมื่อเครียดมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ - ปวดหัวข้างเดียว หรือสองข้าง - ปวดท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร - ลำไส้ใหญ่อักเสบ ถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ ถ่ายเป็นเลือด - อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ - โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเส้นเลือดในสมองแตกได้ - โรคภูมิแพ้ ปวดหลัง ปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อ - ปวดเมื่อยเรื้อรัง เสื่อสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
2. ภาวะโรคประสาท ซึ่งจะทำให้ไม่มีความสุขในชีวิต มีความวิตกกังวล หวาดกลัว โกรธอยู่ตลอดเวลา กินไม่ได้ นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ไม่มีความสุข
3. โรคจิต เมื่อเครียดมาก ๆ มนุษย์อาจหนีออกจากโลกแห่งความเป็นจริง สร้างโลกของตนเอง คิดเอาเอง พูดเอาเอง กลายเป็นคนโรคจิต คนที่เป็นโรคจิตมักไม่รู้ตัวว่าป่วย แต่ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงมักดูอาการออกและนำไปให้แพทย์รักษา โดย ทั่วไปผู้ป่วยไม่ค่อยเต็มใจ ซึ่งผิดกับคนที่เป็นโรคประสาท พวกนี้มักจะมีความทุกข์ใจ อยากหาผู้ช่วยเหลือ และรักษา ลักษณะของคนที่มีความเครียดได้บ่อย ๆ
1. ชอบวางมาดหรือเกร็ง มักจะมีกริยาที่เกร็งอยู่เสมอ ๆ ชอบขมวดคิ้ว ตัวงอ ยืดตัวเกร็ง ไม่ปล่อยตัว ตามสบาย ทำให้ขาดการผ่อนคลายทางจิตและกล้ามเนื้อ
2. พวกที่มีความกลัวอยู่เสมอ เช่น กลัวการถูกคุกคามชีวิต กลัวความตาย กลัวความแก่ กลัวเป็นโรค เรื้อรังที่ไม่หาย เช่น มะเร็ง กลัวภาวะที่ทำให้เจ็บป่วย เช่น มลภาวะเป็นพิษ ความอดอยาก ภัยจากโจรผู้ร้าย หรือภาวะสงคราม กลัวการถูกทอดทิ้ง ความกลัวว่าเขาจะไม่รักเรา กลัวการไม่ยอมรับของสังคม กลัวไม่มี เพื่อน กลัวความเหงา
3. พวกที่มีความอายอยู่มาก ๆ เช่น เวลาหิวแล้วบอกว่าไม่หิว ความอายนี้จะก่อให้เกิดความเก็บกดสูง ฉะนั้น คำพูดที่แสดงออกมามักจะตรงข้ามกับความจริงเสมอ ลักษณะอายที่พบได้บ่อย ๆ คือ หน้าแดง ก้มหน้า ไม่กล้า สบสายตา แอบดู วิ่งหนี เดินหนี ทำเป็นไม่สนใจ ก้าวร้าวตอบ บุคคลเหล่านี้จะมีสัมพันธภาพกับคนอื่นไม่ดี และมักจะเสียโอกาสดี ๆ ของชีวิต
4. พวกคิดมาก กังวล พวกนี้จะมีความอยากในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะสูงมากเกินไป หรืออยากมีในสิ่งที่ มีไม่ได้
5. พวกที่วางตัวเป็นผู้ใหญ่มากไป พวกนี้ขาดอารมณ์ขัน เป็นคนจริงจัง ผิดหวังจะเสียใจมากมักจะดูถูก ตัวเองเมื่อไม่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้
6. พวกเอาแต่ได้ เห็นแก่ตัว พวกนี้ต้องการเอาชนะทุกอย่างในชีวิต ไม่ยอมแพ้ ถ้าแพ้จะทนไม่ได้ มักจะ โทษสิ่งแวดล้อม โทษคนรอบข้าง และอาจจะโทษตัวเองในที่สุด เป็นคนใจแคบ เอาตัวเองเป็นหลัก ไม่ฟัง ความคิดเห็นคนอื่น มุทะลุ ดันทุรัง ดื้อ
7. พวกที่แบ่งเวลาไม่เป็น ชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ชีวิตมักจะชุลมุนวุ่นวาย ลุกลี้ลุกลน ขาดความเป็นระเบียบ เช่น ชอบดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ คุยกับลูก หรือปรึกษางาน ในขณะรับประทานอาหาร
8. พวกที่มีอารมณ์รุนแรง ไม่รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ ชอบโกรธ ชอบตำหนิติเตียน ลงโทษคนอื่น
9. มักคิดไปในทางที่ไม่ดี ไม่คิดสร้างสรรค์ บุคคลที่มีลักษณะทั้ง 9 ข้อ จะมีความเครียดอยู่เป็นประจำ และจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเป็นบุคคลที่หา ความสดชื่นในชีวิตได้ยาก

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

คิดเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปัน




หลาย ๆ คนคิดว่า การที่เราจะให้อะไรคนอื่นนั้นเป็นไปได้ยาก อาจเป็นเพราะว่า 1. มีความเสียดาย 2. เขาไม่ได้เป็นคนดีพอที่เราจะให้ หรือเขายังไม่ได้ให้อะไรเราเลย 3. รู้สึกว่าเราด้อยค่ากว่าเขา ที่เราต้องเป็นฝ่ายให้เขาก่อน ถ้ามัวคิดอยู่อย่างนี้ เราคงไม่ให้อะไรใครง่าย ๆ ลองคิดดูอย่างนี้บ้างเป็นไร การที่เราเป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น ก่อนนั้น แสดงว่า 1. เรามีค่ามากขึ้น ที่เราสามารถ "ให้" คนอื่น ๆ ได้ เช่น ให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ หรือให้สิ่งของ เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราพอมีอยู่บ้าง ทำให้ผู้รับเกิดความพอใจ เกิดความพ้นทุกข์ มีความสุข 2. เราใจกว้างมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น ที่สามารถทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การให้คนอื่นก่อนซึ่งต้อง อาศัยความกล้าและความเข้มแข็งที่จะต้องเอาชนะใจตนเองที่พร้อมจะเป็นผู้รับอยู่แล้ว ฉะนั้น ทุกครั้ง ที่เรา ให้สิ่งของแก่คนอื่น จงชมตัวเองว่า ตัวเราดีขึ้น เก่งขึ้น ใจกล้าขึ้น แล้วคุณจะอยากให้มากขึ้น 3. การให้นั้นอาจจะเป็นการให้วัตถุหรือความช่วยเหลือก็ได้ ให้ดูตามความเหมาะสม เช่น พูดให้กำลังใจ การชมเชย การแสดงความเห็นอกเห็นใจหรือความเมตตา เป็นการให้ชนิดหนึ่งที่ดีมาก ประโยชน์จากการเป็นผู้ให้นั้นมีมากมาย นอกจากจะทำให้มีมิตรมากขึ้น มีคนรักมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการ กำจัดความอยากได้จากคนอื่น ทำให้ลบความทุกข์จากความอยากได้ที่ไม่สิ้นสุด เป็นการฝึกฝนจิตใจให้ เสียสละ มีความโอบอ้อมอารี การที่จะสอนคนให้รู้จักมีความสุขจากการให้นั้น เหมือนกับเป็นการให้คนพายเรือทวนกระแสน้ำ ดูว่า มันยากยิ่ง แต่เราจะเข้มแข็งมากขึ้น รู้จักต่อสู้กับอุปสรรคในชีวิตได้อย่างดียิ่งขึ้น เมื่อได้มีการฝึกการให้ อย่างสม่ำเสมอ จิตใจจะมีพลังมากขึ้น เมื่อเราฝึกการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ลักษณะของคนที่จะเป็น "ผู้ให้" ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ คือ 1. มีความรักมนุษย์ เกิดเป็นคนใช่ว่าจะรักมนุษย์เสมอไป บางคนจะรักสัตว์มากกว่ามนุษย์เขาจะพูดจา กับสัตว์ได้ดีกว่าพูดกับมนุษย์ด้วยกันเสียอีก บางคนรักต้นไม้ ก็จะปลูกต้นไม้งาม บางคนรัก เครื่องยนต์ ชอบแก้เครื่องยนต์ ชอบดูแลทำความสะอาดรถยนต์มากกว่าสนใจเรื่องอื่นก็มี บางคนรักตัวเลข และเงินทอง ก็มีความห่วงใยตัวเลขและเงินทองในธนาคารมากกว่าสนใจคนอื่น เราจะรักอะไรมากกว่ามนุษย์ก็ตาม เราจะต้องฝืนใจ หันมาสนใจและรักมนุษย์ให้มากกว่าเดิม ไม่เช่นนั้น เราจะให้อะไรแก่มนุษย์คนอื่นได้ยากมาก 2. ต้องมีสัญชาตญาณของความเป็นพ่อแม่ แม้ว่าคุณจะไม่เคยแต่งงานหรือไม่เคยมีลูกเลย คุณก็พร้อม ที่จะรักคนอื่น พร้อมจะให้อภัยและเมตตา เสมือนพ่อแม่รัก อภัย เมตตา ลูก ๆ นั่นเอง 3. ต้องลดการถือตัวลงบ้าง อย่าคิดว่าตนเองดีวิเศษอยู่คนเดียว ถ้าคิดเช่นนี้คุณจะให้สิ่งของแก่ใคร ไม่เป็น 4. รู้จักอภัยและมีอารมณ์ขันบ้าง อย่าจับผิดคนอื่น จงมองความผิดพลาดและความไม่รู้ของคนอื่น ด้วยความเข้าใจ เห็นใจ และมีอารมณ์ขันปนบ้าง แล้วจะได้มองเห็นความปกติและมีค่าในตัวคนอ่นได้มากขึ้น ไม่จริงจังมากเกินไป จะเป็นเหตุให้คุณไม่ยอมให้อะไรแก่ใคร ง่าย ๆ ฉะนั้นมนุษย์เราจงสร้างความสุขจาก การรู้จักให้มากกว่าจากการรับเถิด ความคิดที่จะให้มีอยู่ในหัวใจใคร บุคคลนั้นก็คือผู้ทำความดีคนหนึ่ง

คิดมองโลกในแง่ดี




ถ้าคนเราปรารถนาจะได้รับความสุข จงสร้างความรู้สึกให้รักคนอื่น ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ความรู้สึก รักมนุษย์นี้จะทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตนี้น่าอยู่ มีค่า มีความหมาย มีค่าทั้งชีวิตเราและชีวิตเขาทำให้เกิดความปิติ ยินดีที่จะได้ช่วยเหลือกันโดยไม่คิดถึงการได้เปรียบ เสียเปรียบ และจะเกิดความรู้สึกอภัยกันได้ง่ายขึ้น โดย ไม่คำนึงถึงความอยากแก้แค้น หรือโกรธ ถ้าใครทำให้เราไม่ถูกใจ มีเทคนิคบางอย่างที่จะทำให้มนุษย์มีใจกว้างขึ้น รักคนได้มากขึ้น โดยไม่คำนึงถึงว่า จะต้องรักคนใน อาชีพเดียวกัน วัยเดียวกัน หรือคนที่มีอะไรเหมือน ๆ กัน ซึ่งเราจะต้องเปิดใจให้กว้าง แล้วเราก็จะ สามารถ รับใคร ๆ ก็ได้เข้ามาเป็นเพื่อนของเรา หรือเป็นคนคุ้นเคยกันได้ มนุษย์เราอยากให้คนอื่นยอมรับและถูกสัมผัสทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าเรามีค่าพอ มี ความหมายพอแก่คนอื่น ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เช่น ในประเทศทางตะวันตก เขาจะมีการจับมือกัน ใช้เป็น สัญลักษณ์ของการทักทาย ยินดี ขณะเดียวกันเขาก็จะจับมือกันแน่นและสั่นมือพร้อม ๆ กัน ถ้า เป็นคนที่ สนิทกันมาก หรืออาจจะใช้อีกมือหนึ่งตบบ่าอีกฝ่ายหนึ่งเบา ๆ ก็ได้ และเขาก็จะมองตาซึ่งกัน และกัน ยิ้มแย้มเข้าหากัน ทักทายกันอย่างดี และเมื่อจะจากกันเขาก็จะจับมือกันอีก ส่วนการไหว้ของคนไทยก็เป็นการให้ความรู้สึกอยากเป็นมิตรด้วยความเหมาะสม สุภาพ และให้เกียรติ กัน ซึ่งจะทำให้เกิดความประทับใจในการคบกันฉันเพื่อได้ เป็นการสร้างความกล้าหาญให้กับตนเอง รู้จัก การสร้างเพื่อน และรู้จักการสร้างงาน และอาจนำไปใช้สร้างงานใหม่ ๆ ได้ดี จงมีความศรัทธาในศาสนา ถ้าได้ศึกษาชีวิตของคนที่ประสบความสุขและความสำเร็จในชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นคนไทยและคน ต่างชาติ ก็จะพบว่า บุคคลเหล่านี้จะมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งที่ฝังใจต่อคำสอนของศาสนา และมีความเคารพ นับถือในองค์ศาสดา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใด ทำให้บุคคลเหล่านั้น มีลักษณะการอ่อนน้อมถ่อมตน มีความ กตัญญูกตเวที มีจริยธรรมคอยควบคุมจิตให้พยายามกระทำสิ่งที่ดีงาม รู้จักสร้างวินัยกับตนเอง มีโอกาส พบปะ บุคคลต่างอาชีพที่มีแนวคิดคล้าย ๆ กัน เนื่องจากมีความเชื่อคล้าย ๆ กัน จนกลายเป็นมิตรภาพที่ดีต่อไป นอกเหนือจากนั้น บุคคลเหล่านี้มักจะไม่ค่อยเหงา เพราะจะรู้สึกอบอุ่นใจที่มีศาสนาเป็นเพื่อน ทำให้รู้จักเสีย สละ รู้สึกจิตใจผ่องแผ้วเมื่อได้เสียสละหรือบริจาคทำบุญ สิ่งที่ดีกว่านั้นก็คือ บุคคลเหล่านั้จะได้มีโอกาสระบายความทุกข์ทางใจไปกับกิจกรรมทางศาสนา ทุกศาสนา จะมีการสวดมนต์อ้อนวอน อธิษฐาน หรือสารภาพบาป บนบานศาลกล่าวด้วยวิธีการเช่นนี้ จะทำให้ผู้มีความ ทุกข์ในใจได้มีโอกาสระบายความทุกข์เหล่านั้นออกมา ความทุกข์เหล่านั้นอาจจะเป็นความลับที่เรา บอกใคร ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นความผิดทางกฎหมาย ศีลธรรม แต่เราก็สามารถจะขอกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือตัวแทนของศาสนาได้ ในยามทุกข์หรือสุขก็ตาม ท่านลองสวดมนต์ อธิษฐาน และทำตัวให้อยู่ในคำสั่งสอนของศาสนา มีความ เชื่อในศาสนาให้มากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเอง จิตใจของเราจะได้สัมผัสกับความสุขอย่างไม่คาดคิด มาก่อน คนที่ไม่ศรัทธาในศาสนาใด ๆ เลย มักจะเป็นคนยึดมั่นในตัวเองสูงเกินไป ต่อไปมักจะเป็นคน เศร้าหมอง เก็บกด เหงา หรือก้าวร้าวมาก ๆ จงมีความรักและปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ จิตใจของคนเรานั้นจะแปรเปลี่ยนไปมาอยู่เรื่อย ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ไม่ดี เราจึงต้องมีการคอยควบคุม จิตใจ ให้คอยคิดคอยนึกถึงคนอื่นในแง่ดีและปรารถนาดีอยู่เสมอ ฉะนั้น จงหมั่นแสดงความรักและความ ปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์อื่น ๆ ทุกวัน วันละกี่คนก็ได้ และไม่ต้องนึกว่าจะมีใครมาแสดงความปรารถนาดี กับเราหรือไม่ ถ้าจะมีก็ได้หรือไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่เราต้องฝึกใจและคิดว่าเป็นหน้าที่ที่ดีของเราที่เราจะต้อง ปรารถนาดีต่อคนอื่น เมื่อเรามีความปรารถนาดีต่อบุคคลอื่นแล้ว การลงมือช่วยเหลือคนอื่น ๆ จะตามมา ด้วยความสมัครใจ โดยที่เราจะไม่รู้สึกว่าเป็นหน้าที่ หรือทำไปเพราะหวังผลตอบแทน จงฟังดนตรีและเสียงเพลงบ่อย ๆ จะสังเกตได้ว่า กลุ่มหนุ่มสาวและวัยรุ่นนั้นชอบที่จะเปิดเพลงจากเครื่องเสียงดังลั่นบ้าน นั่งฟังไปร้อง เพลงคลอไปด้วย หรือเอามือเคาะโต๊ะเบา ๆ ดูพวกเขาช่างมีความสุขเหลือเกิน ส่วนพวกที่โตเป็นผู้ใหญ่ ทำการทำงานแล้ว โอกาสจะฟังเพลงก็มีน้อย หรือฟังไปเสียดายเวลาทำงานไป หรือบางคนก็ชอบฟังเพลงไปทำงานไปด้วยก็มี แต่แท้จริงแล้ว คนที่ชอบฟังเพลงจะทำให้ชีวิตมีความสุข เสียงเพลงและดนตรีเป็นภาษาสากล คนจะฟังเพลงได้ไพเราะ ต้องมีจินตนาการไปตามเสียงเพลง จิตใจ ของคนที่ชอบเสียงเพลงนั้นจะละเอียดอ่อน รู้จักสร้างจินตนาการที่ดีให้กับชีวิต และเกิดแนวคิดสร้างสรรค์ กับ ชีวิตได้มากมาย เราควรจะหัดและยึดตัวเองให้มีความคิด มีจินตนาการที่ดีต่อชีวิตและธรรมชาติในขณะ ฟังเพลงไปด้วย แล้วเราจะรู้สึกว่าโลกนี้น่าอยู่ขึ้นมากทีเดียว หากมีใจรื่นรมย์ก็จะทำให้ไม่คิดฟุ้งซ่าน มองดู อะไรดีไปหมด เพราะจะเป็นผู้มองโลกในแง่ดี ชีวิตก็จะมีความสุข คนที่มองโลกในแง่ดี มักจะมีอารมณ์ขันและมีเสียงหัวเราะ บ่อยครั้งที่เราจริงจังกับชีวิตมากเกินไป จนขาดอารมณ์ขัน บางคนไม่เคยหัวเราะเลยเป็นเดือน เป็นปี คนที่มีอารมณ์ขันและมีเสียงหัวเราะนั้นเป็นคนที่มีความสุข อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ คนที่อยู่ใกล้ชิดก็ชอบ เพราะ อยู่ด้วยแล้วมีความสบายใจ การจะมีอารมณ์ขันนั้นต้องมีสติและมีพื้นฐานจิตใจที่ดี อารมณ์ขันที่ดีนั้นควรจะ ประกอบด้วยความสุภาพ เหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่พูดคุยกันแล้ว เขาก็เกิดอารมณ์ขันในตัวเอง หัวเราะต่อ กระซิก น่ารัก พยายามอย่าทำตัวเป็นผู้ใหญ่ตลอดเวลา จะทำให้เครียด จิตใจไม่สดชื่น อีกประการหนึ่งคือ พยายาม อยู่กับคนที่มีสุขภาพจิตดี คนที่มีสุขภาพจิตดีจะมีจิตใจเบิกบาน สดชื่น มองโลกในแง่ดีเสมอ

คิดไม่ดี ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

มีคนมากมายที่รองานที่ควรทำในวันนั้นไปทำในวันอื่น เช่น ควรจะไปเยี่ยมญาติซึ่งป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล ในเช้านี้ ก็บอกกับตนเองว่า บ่าย ๆ ค่อยไปเยี่ยมดีกว่า แทนที่จะอ่านหนังสือที่ควรอ่านเสียวันนี้ ก็บอก ตนเอง ว่า รอไว้อ่านพรุ่งนี้เถอะ ผลสุดท้ายก็คือญาติออกจากโรงพยาบาลแต่ไม่ได้ไปเยี่ยมสักที หนังสือที่ ควรอ่านก็ เลยไม่ได้อ่าน การผัดวันประกันพรุ่งเช่นนี้ ถือเป็นโจรปล้นทั้งเวลาและความสำเร็จของเราเอง ทำให้บรรลุผล สำเร็จน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เพราะถ้าหากเรามีความกระตือรือร้น เราจะทำงานได้สำเร็จมาก กว่าการรั้งรอไว้ เป็นปกติธรรมดาอย่างหนึ่งที่คนผัดวันประกันพรุ่งนั้น มักจะสำคัญและบอกว่าตนเองมีธุระมากที่สุด ไม่มีเวลาจริง ๆ ข้อที่ร้ายที่สุดก็คือ คนที่มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งจะเป็นคนที่ขาดการตัดสินใจ มีการตัดสิน ตกลงใจไม่แน่นอน เป็นคนที่ปัดความรับผิดชอบไปให้คนอื่น เป็นคนที่ละเลยต่อการงานที่ควรทำ ซึ่งคนที่ มีนิสัยเช่นนี้จะเป็นผู้ที่ถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครยกย่องนับถือเลย บุคคลประเภทนี้นาน ๆ เข้าจะกลายเป็น คนที่ตัดสินใจอะไรไม่เป็น จะเป็นคนที่ปราศจากความสุข ความรื่นรมย์ตลอดชีวิต จะหวาดเกรงต่อการ ตัดสินปัญหาทุกอย่าง ซึ่งชีวิตคนเรานั้นย่อมมีเรื่องที่จะต้องตัดสินตกลงใจร้อยแปดพันประการ บุคคลที่มีนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง จะต้องแก้ไขนิสัยตนเองโดยเร็ว เขาจะต้องตื่นขึ้นจากฝันร้าย เขาจะ ต้องถอนตัวออกจากความอ่อนแอ และปลุกใจตนเองให้เกิดความมุ่งหวัง ให้เกิดผลสำเร็จ และมีลักษณะ นิสัยเข้มแข็ง เด็ดขาด และบอกตัวเองอยู่เสมอว่า "เมื่อใดงานผ่านเข้ามา จงทำเสียเดี๋ยวนี้ หรืออย่างช้าที่สุด ก็คือวันนี้" สิ่งหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องพบกับมันอยู่เสมอ ๆ ก็คือ ความอิจฉาริษยา ไม่ใช่ว่าทุกคนจะต้องมีปม เหล่านี้เท่ากัน แต่จะมีมากน้อยต่างกันไป ถ้าคนเรามีความคิดอิจฉาริษยากันมาก ๆ ก็มีทุกข์มาก แม้ว่าเราไม่อยากมีกัน แต่เราก็มีกันทุกคน มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ลักษณะ วิธีที่จะรักษาหรือทำให้หายก็แสนจะยาก การ อบรมสั่งสอนว่าอย่าอิจฉา ริษยากันเลยนั้นแทบจะไม่ได้ผลเลย แต่อาจมีวิธีบรรเทาได้บ้าง 2 ข้อ ดังนี้ ข้อแรก จงทำตัวสบาย ๆ อยากรู้สึกอะไร ๆ ก็ได้ อยากอิจฉาก็อิจฉาไป นึกเสียว่าเมื่อมีความหิว เราก็ ขวนขวายอะไรกินเสีย ความหิวก็หายไป แล้วก็กลับมาหิวใหม่ได้ ข้อที่สอง จงมีความเพลิดเพลินกับการมีชีวิตอยู่ หาอะไรสนุก ๆ ทำไปเรื่อย ๆ สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของ ชีวิต เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี ดูแลต้นไม้ ดูแลสัตว์เลี้ยง คบหาเพื่อนอาชีพต่าง ๆ พูดคุยทำตัวให้มีความ เพลิดเพลิน ถึงคุณจะมีความอิจฉาริษยามันก็จะเลือน ๆ ลงไปบ้าง การที่คนคิดไม่ดี คิดร้ายกับคนอื่น มีตัวอย่างอีกมากมาย เช่น โจรผู้ร้ายที่เที่ยวปล้นฆ่าคน ฉกชิงวิ่งราว ล้วงกระเป๋า สร้างปัญหา สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่น ซึ่งไม่ใช่การหาวิธีเป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะ ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางศีลธรรมและทางศาสนา และตัวเขาเองเมื่อโดนตำรวจจับได้ ก็มีความผิด ติดคุก ติดตะรางไป ยิ่งทำความเดือดร้อนสร้างทุกข์ให้กับตนเองและครอบครัวยิ่งขึ้นไปอีก การคิดทำให้เกิดทุกข์ได้มากมาย และหากใครคิดไม่ดี ให้ร้ายคนอื่น หรือมีความอิจฉาริษยา ระแวง จะเป็นการนำไปสู่ความทุกข์ได้ทั้งนั้น

คิดดี ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ



การวางจุดมุ่งหมายให้แน่นอนในชีวิตของคนเรา เป็นหลักการอันสำคัญที่สุดของการดำเนินชีวิต คนที่ ขาดจุดมุ่งหมาย ก็คือ คนที่ขาดหลักสำหรับยึดเหนี่ยว ไม่รู้ว่าชีวิตจะไปทางไหน เหมือนเรือที่ลอยเท้งเต้ง ไปตามกระแสน้ำ น้ำขึ้นก็ลอยขึ้น น้ำลงก็ลอยลง อย่างไรก็ตาม การวางจุดมุ่งหมายของชีวิตนั้น เราจำเป็นจะต้องวางไว้ในระยะที่พอจะไปถึงได้โดยง่าย การวางจุดมุ่งหมายไว้ไกลเกินไป เราก็ย่อมไม่อาจบรรลุถึงได้ หรือกว่าจะถึงก็เหนื่อยอ่อน หมดความยินดีใน ความสำเร็จของตนเสียก่อน บุคคลที่ฉลาดย่อมรู้ว่าจุดหมายของตนนั้นอยู่ห่างไกลเพียงไร แล้วเขาก็วางจุดหมายในระยะใกล้ ๆ ไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะก้าวไปสู่จุดหมายอันแน่นอนของชีวิต ค่อย ๆ ก้าวไประยะสั้น ๆ และก้าวไปได้ ง่าย ๆ กระทำเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการของชีวิต คนเราหากมีความมุ่งหมายแล้ว ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ท่านมีความตั้งใจจริงแน่นอนที่จะก้าวไปข้างหน้า โดย ไม่รู้จักคำว่าแพ้ โดยไม่รู้จักคำว่าถอยหลัง ถ้าท่านมีคุณสมบัติข้อนี้ ท่านจะเป็นบุคคลที่จะได้รับความสำเร็จ ได้โดยไม่ต้องสงสัย เราอาจเคยได้ยินคนบางคนบ่นเสมอว่า เขาเป็นคนไม่มีโชค เขาเป็นคนโชคร้ายเป็นต้น คนที่ทำงานไม่ค่อย บรรลุผลสำเร็จมักจะโทษว่าตนเองโชคร้าย ไม่โชคดีเหมือนคนอื่น ๆ เขา แต่เราอาจเคย พูดคุยกับคนอีก ประเภทหนึ่งที่เขาสร้างตนเองขึ้นมาด้วยลำแข้งของตัวเอง กระทั่งบัดนี้ได้กลายเป็นเศรษฐีย่อย ๆ คนหนึ่ง ทรัพย์สมบัติทุกชิ้นของเขาได้มาจากการประกอบอาชีพโดยสุจริต เขาบอกว่าเงินนั้นไม่ใช่ของหายากทุกวันนี้ เราก็ย่ำกันไปบนกองเงินกองทองด้วยกันทั้งนั้น ต่างแต่ว่าใครจะรู้จักหยิบฉวยมันขึ้นมาเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ เท่านั้นเอง ถ้อยคำของคน ๆ นี้ต่างกับความคิดอ่านของคนบางคนที่ได้แต่บนถึงเรื่องความไม่มี โชคของตน อย่างเดียว ทุกหนทุกแห่ง เราจะพบแต่ผู้ที่ไม่พอใจในงานที่ตนทำอยู่ เขาคิดว่าเขาอาจมีโชคดีขึ้น อาจมีความร่ำรวย และสุขสบายขึ้น ถ้าหากเขาได้ทำงานอย่างคนโน้นทำอยู่ เพราะเขาคิดว่าถ้าได้ทำงานอย่างคนนั้นบ้างแล้ว เขาคงจะมีโชคดีขึ้น คนขายของก็อยากเป็นดาราภาพยนตร์ คนครัวก็อยากเป็นสมุห์บัญชี ทนายความก็ อยากเป็นแพทย์ นายแพทย์ก็อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ อะไรทำนองนี้ ดูยุ่งเหยิงไปหมด สรุปก็คือ แต่ละคน ดูหมิ่นเหยียดหยามอาชีพของตนเองว่าไม่มีความก้าวหน้า สู้อาชีพของคนอื่นไม่ได้ กำลังสมองของคนเราสิ้นเปลืองไปเพราะความคิดเช่นนี้มีมากมาย ผู้ที่เห็นว่าอาชีพใดรุ่งเรืองและอยาก จะประกอบอาชีพนั้น ๆ บ้าง ล้วนแต่เป็นพวกคิดสั้น ๆ ถ้าหากเขาได้ศึกษาให้ลึกลงไปอย่างแท้จริงแล้ว เขาจะได้ทราบความจริงว่า ผู้ที่ประสบโชคดีในอาชีพที่เขาปรารถนาอยู่นั้น ต้องต่อสู้ ผจญกับความลำบาก และต้องผ่านความอดทนมาแล้วไม่น้อยไปกว่าอาชีพของเขาเลย ยกตัวอย่างเจ้าของร้านขายของชำแห่งหนึ่ง แต่เดิมมีห้อง ๆ เดียวขายของเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ค น ๆ นี้ แต่เดิมเขาก็รู้สึกเบื่อหน่ายในกิจการของตนเองเหมือนกัน เขาคิดจะเปลี่ยนไปเป็นร้านขายยาบ้างร้านขาย เครื่องดื่มบ้าง แต่ว่าบังเอิญชายผู้นี้มีภรรยาเป็นคนฉลาดและมีมานะอดทน ภรรยาไม่เห็นด้วย ต่อการที่จะ เปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น เธอบอกกับสามีว่า เหตุใดเราจึงไม่พยายามปรับปรุงร้านเล็ก ๆ ของเราให้ดีขึ้น เพราะทางที่จะปรับปรุงนั้นยังมีทางทำได้ สามีเลยได้คิด จึงได้ลงมือปรับปรุงกิจการของเขาขนานใหญ่ บัดนี้เขาจึงกลายเป็นเจ้าของร้านขายของเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ มีถึง 3 ห้อง คนเช่นนี้เองที่รู้จักนำเอาโชคที่เขา เคยนึกไม่ถึงมาสร้างให้เป็นตัวเป็นตนขึ้น เพราะฉะนั้นคนเราจงใช้โอกาสที่มีอยู่แล้ว ทำการงานของเราให้ดีที่สุด จงใช้เวลาเสาะแสวงหาช่องทาง ที่จะปรับปรุงส่งเสริมการงานที่ทำอยู่ให้เจริญงอกงามเท่าที่คนทั่วไปจะทำได้ ฐานะที่เราเป็นอยู่นี้ จะดีจะเลว หรือจะยากจนเข็ญใจอย่างไร ก็จงทำให้ดีที่สุด คนสำคัญ ๆ ของโลกมากมายที่สามารถก้าวขึ้นมาสู่ความ รุ่งโรจน์ได้ ทั้ง ๆ ที่เขาเคยอยู่ในสภาพที่ยากจนและมีภาระผูกพันมากมาย โชคดีมีอยู่ทั่วไปทุกหน ทุกแห่ง ในดิน ในอากาศ ในโรงงาน ในร้านค้า ในบ้าน ในเรือกสวน ในไร่นา มีใน ทุก ๆ สถานที่ เราอาจเคยได้ยิน หลายคนบ่นว่า เมื่อไรหนอโชคจะมาหาเราสักที จงบอกเขาว่าโชคไม่ได้ อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่ตัวเราเอง โชคมาหา เราไม่ได้ แต่เราจะต้องสร้างโชคขึ้นมาด้วยพละกำลังของเรา โชคอาจจะอยู่ที่การคิดของเราเอง คือการคิดโดยพิจารณาจากข้อมูลหลายด้าน และมีข้อเท็จจริง หลายอย่าง มีการตรวจสอบความคิดและมีความรู้สึกตัวขณะพูดและทำ การกระทำและการพูดที่คิดแล้วจะ ไม่ผิดพลาด นั่นก็คือคิดดี เมื่อคิดดี จิตใจและชีวิตก็จะเป็นสุข แสดงว่าคิดดี ทำให้ประสบผลสำเร็จ

คิดไม่ดี คิดไม่ชอบ

การคิดทำให้เกิดทุกข์ได้มากมาย หากใครคิดไม่ดี คิดไม่ชอบ ให้ร้ายคนอื่น หรือมีความคิดอิจฉาริษยา ระแวง จะเป็นการนำไปสู่ความทุกข์ได้ทั้งนั้น ท่านคงเคยพบบุคคลที่เก่งและเด่น ๆ มากมาย ทั้งในและนอกประเทศ ที่เมื่อประสบชัยชนะหรือเป็นคน เด่นขึ้นมาแล้ว ก็มักจะมีลักษณะของความหลงรักตนเอง และมีลักษณะเชื่อมั่นในตนเองสูง ไม่ฟังความคิด เห็นของคนอื่น ดูถูกคนอื่น เห็นแก่ตัวมากขึ้น เอาแต่ได้ มีความคิดแบบเผด็จการ หยิ่งผยอง การตัดสินใจก็จะ ใช้ตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เชื่อใคร หวังผลตอบแทนในตนเองสูง ประเมินค่าของตัวเองสูงมากเกินความเป็นจริง บุคคลรอบ ๆ ข้างก็จะเริ่มเบื่อหน่าย ชิงชัง และหนีหน้าหายไป ความคิดที่หลงรักตัวเองนี้ เกิดได้จากการที่พ่อแม่ให้ความรัก และชื่นชมในตัวลูกตั้งแต่ตอนเล็ก ๆ และ จะเริ่มจางหายไปบ้าง เมื่อเด็กโตขึ้นจะเริ่มรู้ตัวเองว่าไม่ได้เด่นจริง ไม่ได้เก่งจริง ไม่ได้สวยจริง และไม่ได้ น่ารัก จริงอย่างที่พ่อแม่ชื่นชม เขาจะเริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับบุคคลอื่น และเริ่มยอมรับความจริงได้ซึ่งก็คงไม่ง่าย นักในเด็กที่พ่อแม่ประคบประหงมและเอาใจมาก ๆ ตลอดมา มนุษย์เราจะคิดภูมิใจและหลงตัวเองมาก ๆ อีกครั้งหนึ่งเมื่อเขาประสบความสำเร็จในชีวิต และมีคน ชื่นชมเขา ซึ่งอาจจะมาจากสถานภาพทางการเรียน ทางสังคม ทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะ เข้าข่ายการหลงตัวเองที่กล่าวมาแล้ว บุคคลเหล่านี้จะมีความกลัวว่าจะมีคนเก่งกว่าหรือเก่งเท่าจะมีความ อิจฉาเมื่อเห็นใครเริ่มมีความเก่งทัดเทียมขึ้นมา จะมีความรู้สึกด้อยและเจ็บปวดมาก ถ้าหากตัวเองจะรู้สึกว่า ความเก่งหรือความเด่นลดลง จะทนไม่ได้ และมีความรู้สึกหวงแหนอำนาจมาก เพราะกลัวการเสียหน้าสูง แท้จริงแล้วจะเห็นว่า บุคคลที่มีความคิดไม่ดี ไม่ชอบ เช่นนี้จะหาความสุขได้ยาก เพราะจะเต็มไปด้วย ความรู้สึกกลัว ความอิจฉาริษยา ความเจ็บปวด กลัวเสียหน้า แม้ว่าบุคลิกภายนอกที่เขาแสดงออกถึงความ เย่อหยิ่ง เผด็จการ ดูถูกคนอื่น จะมองดูเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม แต่แท้จริงแล้วเป็นการสร้างเกราะป้องกัน "ความกลัว" ในจิตใจของเขาเองมากกว่าเวลาเขาตกต่ำหรือรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวัง เขาจะรู้สึกเจ็บปวด มากกว่า บุคคลทั่วไป ทางออกของคนเด่นหรือคนที่คิดไม่ดี ไม่ชอบเหล่านี้ จะอยู่ได้โดยไม่ทุกข์มากนัก ก็คือ ต้องขจัดความ รู้สึกหลงรักตัวเองลงไปบ้าง เพราะมันเป็นเพียงความรู้สึกและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง แล้วตัวเอง ก็จะได้เป็นคนดี คนเก่ง หรือคนเด่นที่เป็นธรรมดา ๆ ต่อไป ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปก็จะรักและชื่นชมมากขึ้น

คิดดี คิดชอบ

ตนเองได้ทำไว้ ฉะนั้น การสร้างนิสัยเชื่อมั่นในตนเองนั้น วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ก็คือ จงแข่งขันกับตัวของ ตัวเอง 4. ให้เวลากับตัวเองตามสมควร คนบางคนมักจะเร่งรัดตัวเองจนเกินไป ย่อมทำให้พบข้อบกพร่องและ อุปสรรคต่าง ๆ มากมาย ทำให้ไม่บรรลุผลสมดังความมุ่งหมาย เมื่อเป็นเช่นนี้ความท้อแท้ใจก็จะเกิดขึ้น ทำให้เป็นคนขาดการเชื่อมั่นในตนเอง ฉะนั้น ในการที่จะให้บรรลุจุดหมายใด ๆ เราจะต้องให้เวลากับ ตนเองพอสมควร 5. จงทำให้เกิดการท้าทายแข่งขันเสมอ คนเราถ้าทำงานเป็นไปอย่างปกติธรรมดา จิตใจก็มักจะเฉื่อย ๆ เรื่อย ๆ ฉะนั้น ควรแสวงหาว่ากิจการที่ทำอยู่เป็นประจำนั้น มีช่องทางทำให้ดีขึ้นอย่างไร การคิดหาช่องทาง เช่นนี้ แม้ว่าอาจจะทำไม่สำเร็จ แต่ก็จะทำให้จิตใจได้รับการบริหารอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเอง เพิ่มขึ้นไม่เสื่อมถอยได้ หรืออาจเรียกว่ามีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ ความคิดมีอิทธิพลแก่ตัวเราเองยิ่งกว่า สิ่งแวดล้อมใด ๆ ทั้งสิ้น มีนักจิตวิทยามีชื่อเสียงผู้หนึ่งให้คำแนะนำไว้ว่า "จงฝึกตัวของท่านให้ชินต่อนิสัยที่คิดแต่ความสนุกสนาน ร่าเริง แทนที่จะยอมหมอบราบต่อความคิดที่มืดมนและเศร้าหมองต่าง ๆ" วิธีที่ดีที่สุดที่จะกำจัดความคิดซึ่งขัดแย้งกับตนเอง ก็คือ จงปลูกฝังความสดชื่นให้เกิดมีขึ้นเป็นนิสัย เริ่มด้วยการคิดของท่านก่อน ดึงจิตใจคิดถึงแต่ความสุข คิดถึงแต่ความสำเร็จนานาชนิด ในไม่ช้าท่านจะ กลายเป็นคนที่มีความสุข ทำนองเดียวกัน ถ้าหากท่านคิดถึงแต่ความไม่สำเร็จต่าง ๆ คิดถึงแต่สิ่งอันทำให้ จิตใจเศร้าหมอง ท่านก็จะกลายเป็นคนเจ้าทุกข์ นักจิตวิทยาให้คำแนะนำว่า ทุกเวลากลางคืนก่อนนอน จงนึกถึงแต่ความคิดที่สนุกสนาน ร่าเริง เช่น นึกถึงภาพยนตร์สนุก ๆ นึกถึงเรื่องขบขันระหว่างเรากับ เพื่อนฝูง นึกถึงความอิ่มอกอิ่มใจที่ได้บริจาคทานให้แก่คนยากจน นึกถึงความสำเร็จบางชิ้นบางอันที่ได้รับ ความคิดที่เต็มไปด้วยความผาสุกเช่นนี้จะทำให้เราหลับสนิท มีความสุขไปตลอดรุ่ง และในตอนเช้าจิตใจ ของเราก็จะเบิกบานสดชื่น อันเป็นผลสะท้อนจากความคิดเบิกบานสดชื่นที่เราได้ใช้เมื่อตอนก่อนจะหลับ นั่นเอง ขอให้ท่านลองฝึกฝนดูเถิด ท่านจะรู้สึกว่า ท่านจะตื่นเช้าด้วยความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าที่จะทำงาน มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดที่จะเอาชนะอุปสรรคใด ๆ ทุกชนิด

ความคิดนั้นสำคัญไฉน


ท่านทราบแล้วว่า ความคิดก็คือต้นกำเนิดของการกระทำ หรือการกระทำของคนเราเกิดจากความคิด นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าเราคิดดี มองโลกในแง่ดี คิดปฏิบัติคิดทำแต่สิ่งที่ดีก็จะมีความสุข ในทางตรงข้าม ถ้าคนเรา คิดไม่ดี คิดร้าย มองโลกในแง่ร้าย ก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนต่อ สิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมขาดความสงบสุขได้ แน่นอนทีเดียว ธรรมชาติได้อำนวยมันสมองให้คนเราได้ใช้ความคิดอ่านทำงานต่าง ๆ มากมายแต่ถ้าเรา ปล่อยให้สมองของเราหลับนิ่งอยู่ มันก็จะหลับนิ่งอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเราปลุกให้มันตื่นขึ้นเมื่อใด มันก็จะ ตื่นได้เมื่อนั้น ความคิดของคนเรานั้นเคลื่อนไหวไปมารวดเร็วยิ่งกว่ากระแสไฟฟ้าที่เดินในเส้นลวด ความคิดอันหนึ่ง ผุดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้ว ความคิดอีกอันหนึ่งก็ผุดขึ้นอีก ในชั่วนาทีเดียวความคิดของเราจะผุดขึ้นร้อยแปดพัน ประการ การคิดเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด เพราะผู้รู้จักคิดจะรู้จักตัวเองว่า วันนี้และขณะนี้ เขาเองกำลังทำอะไร เขากำลังสร้างอนาคตด้วยคุณภาพความคิดของเขา เขารู้ว่าทุก ๆ อย่างที่เกิดขึ้นล้วน เริ่มที่ความคิดและรู้ว่าอำนาจของความคิดเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เราควรเปิดใจให้กว้างอยู่เสมอ เพื่อสังเกต เพื่อพิจารณาเพื่อค้นหากุญแจ ซึ่งซ่อนเร้นอยู่สำหรับไข ปัญหา ชีวิต เราควรคิดว่าจิตใจของเราก็เป็นเช่นโรงงาน และเราควรจะป้อนวัตถุดิบให้ เพื่อผลผลิตอันดับเลิศ วัตถุ ดิบนั้น ได้แก่ ข้อเท็จจริง ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อความคิดต่าง ๆ จะได้เกิดขึ้น เราใช้พลังของจิตใต้สำนึก และปล่อยให้มันแสดงตนออกมาในรูปความคิดต่าง ๆ ในเวลาหลับ และเรา ก็รู้ว่าความคิดนั้นเติบโตได้ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่งอกงามอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน เราจะหลีกเลี่ยงความคิดแง่เดียวที่คับแคบ แต่เราจะส่งความคิดของเราออกไปทุกทิศทาง เพื่อขยายขอบ เขตของจิตใจให้กว้างขวาง เราจะพยายามสร้างจิตใจที่สำรวม และสร้างความคิดต่าง ๆ ด้วยความอ่อนโยนและด้วยความรู้สึก อ่อนน้อมต่อคนอื่น เราจะไม่จำกัดขอบเขตแห่งความคิดของเราเอง เราซึ่งรู้ว่า การคิดที่กว้างขวางจะนำมา สู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ธรรมชาติได้มอบให้คนเราได้เลือกทางเดินชีวิต และกำหนดชีวิตของเราเอง เพื่อ ก้าวเดินไปในแนวทางซึ่งเราได้คิดและเลือกอย่างฉลาดและถูกต้องที่สุด ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งซึ่งไม่มีตัวตน แต่สามารถรู้ความคิดของบุคคลต่าง ๆ ได้เมื่อบุคคลนั้นแสดง ความคิดออกมาเป็นการกระทำ อาจกล่าวได้ว่า การคิดนั้นมีทิศทางของมัน มีทั้งคิดในทางลบและคิดในทางบวกการคิดในทางบวกถือว่า เป็นทิศทางการคิดที่เป็นคุณประโยชน์ ดังนั้น การคิดที่เป็นคุณประโยชน์ ดังนั้น การคิดที่เป็นคุณประโยชน์จึง เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง การคิดที่เป็นคุณประโยชน์นั้นต้องตั้งใจให้มั่นคง มีความเป็นกลาง มีความจริงใจคิดตรง ตามเหตุและผลที่ถูกต้องและเป็นธรรม ทิศทางในการคิดที่เป็นประโยชน์มีหลายอย่าง เช่น คิดช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันประกอบกิจที่ เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ คิดหาทางป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดแก่ตนเองและประเทศชาติ คิดหาวิธีที่จะ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข เมื่อมีทิศทางในการคิดที่เป็นประโยชน์ ผลของการกระทำก็จะก่อ ให้เกิดประโยชน์สุข ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการพัฒนาความคิด ความสุขเป็นยอดปรารถนาของทุกคน คนที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ควรใช้สติปัญญาไปในการคิดที่จะ ทำให้เกิดสุข ซึ่งก็คือ ทิศทางของการคิดที่เป็นประโยชน์นั่นเอง

การคิด และความคิดคืออะไร


คนเราทุกคนย่อมรู้จักใช้ความคิดด้วยกันทั้งนั้น แตกต่างกันแต่ว่าบางคนไดใช้ความคิดของเขาไปในทาง สร้างสรรค์หรือไม่ เช่น ใช้ความคิดในทางสร้างฐานะตนเอง คิดแสวงหาหนทางที่จะก้าวหน้าต่อไป คิดหาทาง เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิต แต่ก็มีบางคนใช้ชีวิตของเขาไปอย่างเลื่อนลอย ไร้จุดหมาย คิดสร้างวิมานใน อากาศ ในทางที่ไม่อาจเป็นจริงขึ้นมาได้ หรือคิดไปในทางที่ความรู้ความสามารถของตนไม่อาจจะก่อให้เกิด ผลอย่างใดขึ้นมาได้ การใช้ความคิดทำนองนี้ จึงเป็นความคิดที่ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด การรู้จักคิดและฉลาดคิดในสมองคน โดยธรรมชาติจะเกิดขึ้นเอง แต่ก็เป็นสิ่งที่อาจจะสร้างให้เจริญงอก งามขึ้นได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นเดียวกับการปลูกต้นไม้ด้วยเมล็ดพืชและเป็นสิ่งที่ควรพยายามสร้างคุณสมบัติ นี้ให้มีขึ้นในคนไทยอย่างเต็มความสามารถทุกทางและสิ่งหนึ่งที่ช่วยปลูกฝังให้เกิดการรู้จักคิดและความฉลาด คิดให้แก่คนได้อย่างดีที่สุด ก็คือหนังสือ นั่นเอง จะเห็นว่าการรู้จักคิดและฉลาดคิด ก็สามารถสร้างได้เปรียบได้กับคนที่มีวิชาความรู้ หรือฉลาดสักปานใด ก็ตามหากขาดการรู้จักคิดและฉลาดคิดเสียอย่างหนึ่งก็เหมือนกับคนอื่นที่ฉลาด เพียงแต่รู้จักใช้ธนบัตรให้ได้ ประโยชน์ตามมูลค่าของเงินที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ก็ไม่ถึงกับจะสามารถใช้ธนบัตรให้เกิดผลประโยชน์งอกงาม ไปกว่าค่าของมันได้ ความคิดคืออะไร มีข้อมูลจากผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจและงานวิจัยทางจิตของคนเราที่ยืนยันได้ว่าการทำงาน ของ จิตใจ ของเราบางประการที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ แต่สามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือ จิตใจหรือความคิดของเรานั้น เปรียบได้กับแม่เหล็กแท่งหนึ่งที่ทำหน้าที่ 2 ประการ คือ 1. นำชีวิตของเราให้ไปหาสิ่งที่เราคิดอยู่เสมอ หลักการข้อนี้ คือ "จงคิดถึงอะไรสักอย่าง แล้วชีวิตเราก็จะ เคลื่อนเข้าไปหาสิ่งนั้น" ชีวิตของเรามักจะโน้มเอียงไปสู่สิ่งที่เราคิดถึงมากที่สุดเสมอแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็น สิ่งที่ เราชอบหรือไม่ชอบก็ตาม 2. ดึงดูดสิ่งที่มีความคิดคล้ายเราให้เข้ามาหาเรา หลักการข้อนี้ คือ "จงคิดถึงอะไรสักอย่างแล้วชีวิต ของเราจะเคลื่อนเข้าหาสิ่งนั้น" นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตโดยการหมั่นพูดกับตัวเองคิดกับตัวเอง อยู่เสมอ ถึงความรู้สึกด้านบวกต่าง ๆ เช่น - ถ้าเราคิดว่าเราเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง เราก็จะรู้สึกมั่นใจในทุกสิ่งที่เราทำ - ถ้าเราคิดว่าเราเป็นคนที่มีความสามารถ เราก็จะรู้สึกได้ถึงความสามารถของตัวเอง แต่เรามักจะลืมไปว่า ถ้าเราคิดถึงสิ่งใด ชีวิตเราก็จะเคลื่อนไปถึงสิ่งนั้นแม้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ ต้องการและไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตาม เช่น ถ้าเรามัวแต่คิดว่าเราเป็นคนที่อ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยอยู่เสมอ เราก็มักจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่ถ้าเรากำลังคิดอยากจะได้ความช่วยเหลือจากใครสักคน แล้วจู่ ๆ ก็มีคนที่เราไม่คาดฝันมา ช่วย เหลือเรา บางครั้งเรารู้สึกว่า จิตใจของเรานั้นเบิกบาน แจ่มใส มองอะไรก็เป็นไปในทางบวกเราก็รู้สึกว่า เราได้ เจอกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่ทำให้เรารู้สึกดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเราเข้าใจการทำงานของจิตใจของเราที่ไม่สามารถสร้างภาพปฏิเสธขึ้นในสมองได้เช่นนี้แล้วเราจึง ควรจะต้องพิจารณาความคิดและคำพูดของเราเองที่อาจมีอิทธิพลต่อตัวเราเองและผู้อื่น ฉะนั้น ท่านคงจะ เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า "ความคิด ก็คือ ต้นกำเนิดของการกระทำ" นั่นเอง จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ ดังนี้ การคิด หมายถึง กระบวนการทำงานของจิตใจมนุษย์ ในขณะที่กำลังพยายามหาคำตอบ หรือ ทางออกเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิด หมายถึง ผลของกระบวนการคิดนั้น การคิดเป็นทักษะอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจพัฒนาให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นได้ โดยการฝึกคิดอยู่เสมอ คนที่มี ทักษะในการคิดสูง ย่อมมีความคิดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ และจะช่วยสร้างสรรค์สิ่ง ที่เป็นคุณประโยชน์แก่มนุษย์ การกระทำของคนเราเกิดจากความคิด หากคิดไม่ดี คิดร้าย มองโลกในแง่ร้ายจะก่อให้เกิด ความ เดือดร้อนแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม ทำให้สังคมขาดความสงบสุข

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

" ยาเสพติด: การดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นและการปฐมพยาบาล "

วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ หอประชุมคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
วัตถุประสงค์ เมื่อจบการบรรยายแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถบอก
๑. ลักษณะอาการผิดปกติเนื่องจากการใช้ยาเสพติดที่พบบ่อย
๒. ตัดสินใจในการส่งต่อนักเรียนเมื่อมีปัญหายาเสพติด ไปยังสถานบริการที่เหมาะสมได้
๓. ให้การดูแลช่วยเหลือแนะนำนักเรียน ครอบครัว และตนเอง เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดในเบื้องต้นได้
๔. ป้องกันการเกิดปัญหายาเสพติด โดยให้คำแนะนำแก่นักเรียนและชุมชนได้
๕. นำความรู้เรื่องสุขภาพจิตและปัญหายาเสพติดไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมงานอนามัยโรงเรียนได้

สุขภาพจิต และปัญหายาเสพติด
ความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น
ทุกชาติทั่วโลก จากปัญหาสุขภาพจิตไม่ดีทำให้มีการใช้ยาเสพติดมากขึ้น เมื่อความต้องการยาเสพ
ติดมากการลักลอบค้ายาก็มากขึ้นตามส่วน กลายเป็นปัญหาระดับชาติและเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคม
ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ฝิ่นเป็นปัญหาสำคัญ จนกระทั่งมีการประกาศ
ให้ยกเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นต้นมา
หลังจากนั้นก็มีปัญหาการใช้มอร์ฟีนและเฮโรอีนมาแทนที่ รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ เช่น สุรา กัญชา เป็นต้น
สมัยก่อนผู้ติดฝิ่นเกือบจะทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ กรรมกรผู้ใช้แรงงานหรือผู้สูงอายุ
เยาวชนนั้นแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับฝิ่นเลย จนกระทั่งยี่สิบกว่าปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทาง
วัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจและสังคม ช่องว่างทางด้านความคิด ความเข้าใจระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ก็
มีมากขึ้น การใช้เฮโรอีนในเยาวชนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งการใช้ยา เช่น เซโคนาล ก็มี
ปรากฎมากขึ้น มีการใช้ยาประเภทแอมเฟตามีน เพื่อกระตุ้นไม่ให้ง่วงและดูหนังสือได้นาน ปัญหา
เรื่องโรคเอดส์ที่พ่วงติดกับปัญหายาเสพติด การสูดดมสารระเหย โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนที่
แพร่หลายขึ้นมากจนเป็นแฟชั่น เป็นต้น
ความหมายของการติดยาเสพติด2
เมื่อพูดถึงยาเสพติดเรามักจะหมายถึงฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น คือ มอร์ฟีนและฝิ่น
สังเคราะห์ คือ เฮโรอีน พวกนี้เป็นยาเสพติดให้โทษ (Narcotic drugs) ผู้ที่ติดยาจะต้องใช้
ยาอยู่เสมอและต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อขาดยาก็จะมีอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "การติดยา" ว่าเป็น "ภาวะที่
เกิดขึ้นจากการใช้ยาเป็นประจำโดยสม่ำเสมอหรือเป็นพักๆ และการใช้ยานี้มีผลเป็นอันตรายต่อ
ผู้ใช้ยาเอง ต่อสังคมหรือ ต่อทั้งตัวเองและสังคม"
การวินิจฉัยว่าผู้ใดติดยาเสพติดหรือไม่นั้นจะต้องยึดถือหลักสำคัญ คือ "มีการใช้ยา
เป็นประจำจนเป็นนิสัย และเมื่อหยุดยาแล้วจะมีอาการของการหยุดยา คือ Withdrawal Symptom"
การติดยานั้นเมื่อเริ่มใช้ใหม่ๆจะเป็นการติดทางใจ คือ ยาทำให้สบายใจ หายตึง
เครียด หายอึดอัดใจ ผู้ใช้รู้สึกพอใจ ติดใจ ทำให้ใช้ไปเรื่อยๆ เมื่อใช้ไปนานเข้าขนาดของยาก็
ต้องเพิ่มมากขึ้นทุกทีเพื่อให้ออกฤทธิ์เท่าเดิม สภาวะทางร่างกายก็เปลี่ยนไปเพื่อปรับให้เข้ากับ
สภาพที่มียาอยู่ในร่างกาย เมื่อหยุดยาร่างกายก็จะเสียสภาวะที่ปรับไว้นี้ และทำให้เกิดอาการ
ของการหยุดยาขึ้น อาการจะแล้วแต่ชนิดของยาที่ใช้
สุขภาพจิตและสาเหตุของการติดยาเสพติด1
มนุษย์นั้นมีความวิตกกังวล (anxiety) อยู่เสมอในชีวิตประจำวันทั่วๆไป มากบ้าง
น้อยบ้าง ถ้ามีแต่เพียงเล็กน้อย สุขภาพจิตดีก็แก้ไขไปได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าความตึงเครียดมี
มากร่วมกับสุขภาพจิตไม่ดี ปัญหาทางจิตใจและยาเสพติดก็เกิดขึ้นตามมา นอกจากยาเสพติดให้
โทษแล้ว ยาอื่นๆประเภทที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทก็ถูกนำมาใช้กันในทางที่ผิด ใช้กันพร่ำเพรื่อจน
ติดเป็นนิสัยได้ ยาในกลุ่มนี้3 ได้แก่
๑. ยาระงับหรือกล่อมประสาท เช่น เหล้า สารระเหย และยากลุ่ม Benzodiazepine
๒. ยากระตุ้นประสาท เช่น Amphetamine
๓. ยากลุ่มที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น LSD
การที่คนจะติดยาเสพติดได้นั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งด้านตัวคนคนนั้นเอง
และด้านภาวะแวดล้อม
ทางด้านภาวะแวดล้อมนั้น ได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี กฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม
ซึ่งมีส่วนส่งเสริมหรือขัดขวางการใช้ยาเสพติดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม กฎหมายเกี่ยว
กับยาเสพติด การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ความยากง่ายในการแสวงหายาเสพติดก็มีความ
สำคัญไม่น้อย
ทางด้านจิตเวชศาสตร์นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งในส่วนของตัว
ผู้ติดยาเสพติดเอง คือ พื้นฐานเดิม บุคลิกลักษณะของบุคคลนั้น ซึ่งมักจะเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง
และชอบพึ่งคนอื่น ไม่ค่อยมีความอดทนต่อความกังวลหรือไม่สบายใจ และไม่สามารถอดทนรอคอย
ใช้ความคิดพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ต้องการพ้นจากปัญหาต่างๆโดยเร็วที่สุดและง่ายที่สุดโดย
ไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง ต้องการเพียงความพอใจสบายใจเฉพาะหน้าเท่านั้น
บุคคลเหล่านี้เมื่อรู้สึกกังวลว้าเหว่ทางใจ และพบว่ายาเสพติดช่วยให้สบายใจขึ้นได้ทันทีแม้ชั่วครั้ง
ชั่วคราว ก็ยึดเอาเป็นที่พึ่งโดยไม่ทันคำถึงถึงผลที่ตามมาหรือไม่สนใจผลที่ตามมา นอกจากนี้บุคคล
ที่มีโรคทางจิตเวชหลายชนิด เช่น พวกที่เป็นโรคซึมเศร้า โรคประสาท ก็อาจใช้ยาเสพติดเพื่อ
ให้ตัวเองสบายใจขึ้น คนบางจำพวกก็ใช้ยาเพื่อให้เกิดความพอใจที่สามารถทำอะไรขัดกับ
กฎหมายของสังคมได้ เป็นการลดความเจ็บใจจากการที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จในการ
ปรับตัว สร้างฐานะทางสังคม
นอกจากนี้ สาเหตุอื่นๆอาจจะมาจากความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับผลของยาที่มีต่อร่างกาย
เช่น ต่อเรื่องทางเพศ ความอยากจะลอง อยากรู้ หรือพยายามรักษาตัวเองให้พ้นจากโรค หรือ
ความทุกข์ทรมานทางกายหรือทุกข์ทางใจ
ในการศึกษาปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติดนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา
ถึงปัจจัยหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เรื่องของชุมชน
เรื่องทางชีววิทยา ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ปัจจัยเรื่องของจิตใจหรือสุขภาพจิตทั้งสิ้น
ปัญหายาเสพติดในเด็กและวัยรุ่น
ปัจจุบันมีเด็กและวัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ใช้ยาผิดหรือติดยาเสพติด ซึ่งไม่ควรจะมีและ
น่าจะต้องป้องกันมิให้มี เพราะเด็กเหล่านี้คืออนาคตของชาติ เมื่อเด็กจิตใจว้าวุ่นสุขภาพจิตไม่ดี
โอกาสที่จะหลงใช้ยาผิดก็มีมาก จึงควรหาทางป้องกันโดยศึกษาว่าความต้องการในจิตใจเด็กนั้นมี
อย่างไรบ้าง หรือศึกษาว่าจิตใจของเด็กซึ่งใช้ยาเสพติดนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะพบว่าเด็กๆเหล่านี้
ก็มีความต้องการเช่นเดียวกับจิตใจของเด็กที่กำลังพัฒนาคนอื่นๆ กล่าวคือ มีความต้องการซึ่งเป็น
ตัวผลักดันให้เด็กกระทำพฤติกรรมต่างๆ ความต้องการเหล่านี้ คือ
ความต้องการให้สังคมรับรอง (Need to be accepted)
ความต้องการมีส่วนในสังคม (Need to belong)
ความต้องการให้คนรัก (Need to be loved)
ความต้องการจะรักคนอื่น (Need to love)
ความต้องการจะแสดงความรู้สึกที่อัดอั้น (Need to express oneself)
ความต้องการเป็นคนสำคัญ (Need to be important)
ความต้องการให้คนยกย่อง (Need to gain recognition)
ถ้าเด็กได้รับสิ่งซึ่งสนองความต้องการตามสมควร เด็กก็จะเกิดความมั่นคงและอบอุ่น
ในจิตใจ เด็กเหล่านี้มักจะอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่รักใคร่กันดี มีศีลธรรม ไม่วิวาท ไม่แตกแยก
และมีเมตตากรุณา บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เด็กที่พ่อแม่วิวาทกันเสมอครอบครัวแตกแยก
จะไม่ได้รับความรักความอบอุ่น และความต้องการตามธรรมชาติของจิตใจ เด็กก็หันไปหาที่อื่นซึ่ง
อาจเป็นยาเสพติดได้ ครอบครัวนับเป็นสถาบันแรกและสถาบันหลัก โรงเรียนคือสถาบันที่สอง
การร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ผู้ปกครองและโรงเรียน น่าจะช่วยให้เด็กที่มีปัญหาได้รับการช่วย
เหลือที่เหมาะสมขึ้น
จะเห็นได้ว่าการป้องกันปัญหายาเสพติดในเด็กนั้น ต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัย
เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด คือ การให้การศึกษาแก่นักเรียนและประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่
สุดและถูกที่สุด นอกเหนือไปจากปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อให้มีสังคมที่อบอุ่นมีกฎหมายควบคุมที่ดี มีการ
รักษาที่ดีและมีมาตรการการฝึกนิสัยและอาชีพที่มั่นคง ไม่ให้กลับมาเป็นผู้ติดยาเสพติดอีก มาตรการ
เหล่านี้น่าจะพิจารณาแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. การปลูกพืชหรือสร้างอาชีพขึ้นแทนการปลูกฝิ่น
๒. การใช้กฎหมายบังคับในการป้องกันปราบปรามสิ่งเสพติด
๓. การรักษาผู้ติดยาเสพติดในโรงพยาบาล
๔. การให้สุขภาพจิตศึกษา
การให้สุขภาพจิตศึกษาเป็นประโยชน์มากสำหรับเด็กและวัยรุ่น อาจจะมีการปฏิบัติใน
โรงเรียน ต่อไปทางวิทยุ โทรทัศน์ จากคนไปสู่คน จากครอบครัวหนึ่งไปสู่ครอบครัวหนึ่ง ให้เด็กๆ
เข้าใจว่ายานั้นมีไว้เพื่อรักษาโรค ยาไม่ใช่ของที่จะลองเล่น ให้รู้จักผลร้ายของยาเสพติดต่างๆ
สำหรับวัยรุ่นก็ให้เข้าใจว่ายาเสพติดนั้นมิได้มีผลดีในด้านใดเลย รวมทั้งเรื่องทางเพศด้วย มีแต่จะ
ทำลายร่ายกาย สมอง และจิตใจในภายหลัง ควรให้เด็กได้พิจารณาเห็นภาพความทุกข์ทรมานของ
ผู้ติดยา ว่ามีความทรุดโทรมน่าเวทนาเพียงใด
การให้สุขภาพจิตศึกษาที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของการสร้างสุขภาพจิต
การสร้างสุขภาพจิต1
การปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดีนั้น จะพิจารณาได้เป็น
๑. ระยะยาว และ
๒. ระยะสั้น
การสร้างสุขภาพจิตระยะยาวหรือการป้องกันสุขภาพจิตเสื่อมระยะยาวนั้น สิ่งสำคัญ
ที่สุด คือ การศึกษาให้เข้าใจชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตวิทยาในเรื่องของสุขภาพจิตกับ
ครอบครัวและชุมชน ซึ่งตามวิชาการสุขภาพจิตแล้ว การป้องกันนี้แบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ
การป้องกันระยะแรก การป้องกันระยะที่สอง และการป้องกันระยะที่สาม
การป้องกันระยะแรก ประกอบไปด้วยการป้องกันสมองมิให้เกิดอันตราย หรือกระทบ
กระเทือนนับแต่ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งเจริญเติบโต การป้องกันอุปัทวเหตุ การ
ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนภาวะทุพโภชนาการต่างๆอันจะทำให้สมองเกิดอันตรายได้ เป็นต้น
อีกส่วนหนึ่งนั้น คือ การป้องกันเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์และจิตใจ คือ การให้ความรู้เรื่องการพัฒนา
เด็กกับบิดามารดา สิ่งที่จิตใจของเด็กๆต้องการ การให้การศึกษาและแนะแนวก่อนชีวิตสมรส
การให้การศึกษา และเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต แก่ผู้มีอาชีพหลักที่จะเป็นผู้นำในสังคม เช่น ครู
แพทย์ เป็นต้น การศึกษาให้เข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจ ปัญหาของสังคม การสงเคราะห์แก้ไข
ปัญหาตึงเครียดที่เผชิญอยู่ เช่น ปัญหาการอพยพ ปัญหาอุตสาหกรรม สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ปัญหา
เด็กถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
การป้องกันระยะที่สอง คือ การรักษาโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกก่อนที่
จะลุกลามต่อไป ได้แก่ งานของโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพจิต งานของนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
การป้องกันระยะที่สาม คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจให้สังคมยอม
รับและให้ผู้ติดยาเสพติดกลับเข้าอยู่ในสังคมได้
การสร้างสุขภาพจิตระยะเฉพาะหน้า
ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวเราหรือตั้งต้นที่ตัวเรานั่นเอง ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน
แสงสิงแก้ว ได้เคยแนะนำข้อปฏิบัติบางประการ ซึ่งท่านได้ประยุกต์จากวิชาการสุขภาพจิตและ
พุทธปรัชญาบางประการ พอสรุปได้ดังนี้
๑. ในสังคมที่ผันผวนเปลี่ยนแปลง เมื่อมีทุกข์หรือสุขภาพจิตเสื่อมพึงเข้าใจว่า
ใครๆก็มีทุกข์ทั้งนั้น ใครๆก็พบความเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น ชีวิตหรือสังคมทั่วไปมีเกิด มีพัฒนา มีตั้งอยู่
แล้วก็มีดับหรือสลายไปในที่สุด การรู้จักเปรียบเทียบก็ช่วยได้บ้าง คือ มีทุกข์ก็มองให้ซึ้งต่อไปอีกว่า
เราทุกข์เท่านี้แต่ยังมีคนอื่นอีกมากที่ทุกข์มากกว่าเรา
๒. ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเราหลีกไม่ได้ ก็ให้พึงมองดูแง่ดีของสังคมนั้นบ้าง
๓. การเริ่มสร้างงานที่เป็นประโยชน์ก็ช่วยสร้างสุขภาพจิตดีได้ เมื่อมีงานทำ
จิตใจไม่ว่างและมีรายได้ก็มีสุขภาพจิตดีขึ้น นอกจากงานแล้วต้องมีสิ่งชดใช้อารมณ์ที่ตึงเครียดบ้าง
สิ่งนั้นคือ กีฬา การบันเทิง การอ่านหนังสือ การคบหาบัณฑิต การมีงานอดิเรก เป็นต้น
๔. เมื่อรู้สึกมีสุขภาพจิตเสื่อมหรืออารมณ์ปรวนแปร อย่าเก็บนิ่งไว้ให้พูดออกมา
ทันที ถ้ายิ่งได้พูดกับบัณฑิตหรือคนที่เรารักไว้ใจก็ยิ่งดี เพราะการได้พูดออกมานั้นเป็นการระบาย
ได้ดีที่สุด ผู้ที่มีทุกข์มากประเภทหนึ่งคือ ผู้ไม่มีเพื่อน ไม่มีคนรับฟังคำระบาย ไม่มีใครยินดียินร้าย
ด้วยในชีวิต ผู้ที่หมั่นตรวจสอบตนเองด้วยความเที่ยงธรรมของจิตใจคอยเตือนตนเองและแก้ตนเอง
เสมอ จะแก้เหตุของความทุกข์ได้ การค้นหาสาเหตุนั้นมีจำนวนมากที่สาเหตุเนื่องมาจากครอบครัว
เศรษฐกิจและอารมณ์ภายในของตัวเอง การแก้จึงต้องขจัดปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม ส่วน
การแก้ไขอารมณ์ตัวเองนั้นคือ การตัดเสียซึ่งความอยากมีอยากใหญ่แล้วสร้างความรู้จักพอ ต่อจาก
นั้นก็สร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในตนต่อไปตามลำดับ คือ สร้างนิสัยของความมีคุณธรรม ศีลธรรม
และวัฒนธรรม
๕. การเป็นผู้มีศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาจะ
ช่วยผ่อนคลายความทุกข์และสร้างสุขภาพจิตที่ดีได้
๖. ในกรณีที่มีอารมณ์กลัดกลุ้มในสังคมซึ่งผันผวน และไม่สามารถตัดสินใจทำอะไร
ได้เลยกลุ้มมากขึ้น ทางออกที่ง่ายที่สุด คือ ให้พิจารณาว่าการกระทำอะไรที่ขวาสุดและอะไรซ้าย
สุด แล้วให้เลือกทางสายกลาง
การให้สุขภาพจิตศึกษาในเด็กและเยาวชน
การอบรมโดยการพูดจะได้ผลดีในเมื่อเด็กยังเล็กและยังอยู่ในครอบครัว อบรมโดย
บิดามารดาหรือผู้ปกครองเอง และโดยความใกล้ชิดร่วมกับลักษณะที่ให้การอบรม ต้องประกอบด้วย
๑. ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ หรือความเมตตา
๒. การเป็นตัวอย่างที่ดี และความมีศีลธรรมของผู้ใหญ่เอง
การให้ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ และความมีศีลธรรมของผู้ใหญ่นั้น ทำให้
เด็กเกิดความอบอุ่น ความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความรักใคร่ และความเป็นกันเองไม่มีช่องว่างระหว่าง
วัย เด็กก็จะเติบโตขึ้นพร้อมด้วยความอบอุ่นและมีศีลธรรม
การอบรมเยาวชนด้วยคำพูดคำสอนไม่ค่อยได้ผล เยาวชนมักจะนึกประท้วงในใจว่า
เขานั้นโตแล้ว จากสภาพจิตใจของเยาวชน การเรียนรู้การสร้างสุขภาพจิต และศีลธรรม จึงมัก
จะมาจากกีฬา การบันเทิง และสังคม1
การกีฬาทำให้เด็กอดทน รู้จักแพ้-ชนะ ให้อภัย รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้จักตรงต่อเวลา ซึ่ง
สามารถทำได้ เพราะเด็กวัยนี้มีจิตใจอยากเด่นเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำที่
จะให้เด่น อาจจะเป็นการเด่นทางการเรียน ทางกีฬา หรืออื่นๆ เด็กนั้นกำลังโตมีพลังงานมาก
มาย การกีฬาช่วยตอบสนองความต้องการต่างๆเหล่านี้ ถ้าไม่ได้เล่นกีฬาที่เป็นระเบียบมีกติกา
เด็กอาจหาทางออกทางเกะกะก็ได้
การบันเทิงนั้นเพื่อระบายอารมณ์และรับเอาเรื่องของค่านิยม ศีลธรรมต่างๆในการ
แสดงนั้น เด็กอาจจะอุปโลกน์ตัวเองต่อบุคลิกภาพของตัวละคร โดยการประทับใจบทบาทนั้นๆได้
การส่งเสริมละครในโรงเรียน ถ้าเรื่องดีๆจะมีประโยชน์มาก นอกจากนั้นละครดีๆมักจะลงท้าย
ด้วยคติธรรมเสมอ เท่ากับสร้างศีลธรรมในจิตใจเด็กไปด้วยในตัว
การสังคมมีหลายรูปแบบ กิจกรรมร่วมกันทำให้เยาวชนมีโอกาสสังสรรค์ แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น ระบายความรู้สึกอัดอั้นของตนได้มากขึ้น การพูดระบายความในใจออกมานั้น ไม่มีที่
ไหนดีเท่ากับเพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และได้รับประโยชน์จากกันและกันมากด้วย สำหรับ
ผู้ใหญ่นั้นถ้าเด็กมีปัญหาที่จะพึงช่วยได้ก็โดยการเข้าใจชีวิต พัฒนาการทางจิตของเด็กความต้อง
การของเด็กวัยนี้ และโดยการเห็นใจ ถ้าเขาแสดงความคิดเห็นก็ฟังเขา บางทีเขาจะมีความ
คิดเห็นดีๆก็ได้ เพียงแต่ฟังและให้การยอมรับเขาเท่านั้น เขาจะปิติภูมิใจ เกิดความอบอุ่นใจ
มีกำลังใจที่จะทำความดีขึ้นได้
กิจกรรมของโรงเรียนนั้นจะได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าผู้ปกครองทางบ้านร่วมมือด้วย จะส่ง
เสริมเด็กได้ทั้งการเรียนและทางศีลธรรม ดังนั้น สิ่งที่น่าสนับสนุนสิ่งหนึ่งคือ สมาคมครูและ
ผู้ปกครอง1
ศูนย์เยาวชนก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ สนับสนุนให้เด็กทำไม่ใช่ห้าม ให้เด็ก
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เมื่อไม่ว่าง จิตก็ไม่ว่าง ไม่วุ่นวาย ให้เด็กมีความรู้สึกรับผิดชอบ
มีสิทธิและหน้าที่ และทุกคนช่วยกันทำเพื่อส่วนรวม เด็กรู้สึกว่าตนนั้นเป็นส่วนหนึ่งและเป็นที่ยอมรับ
ของกลุ่มของสังคม
ในส่วนของหลักสูตรในโรงเรียนนั้น กระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการปรับปรุงเนื้อหา
ในเรื่องของยาเสพติด และระบบการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเรื่องของ
การป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา
ลักษณะอาการของการติดยาเสพติด
การป้องกันระยะที่สองที่สำคัญ คือ การรู้ปัญหาในระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้ให้การ
ดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการรู้จักลักษณะอาการของการติดยาเสพติดจึงมีความจำเป็น
ลักษณะที่เด่นชัด คือ การที่ร่างกายเกิดการทนต่อยาเสพติดขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มจำนวน
ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ยาเสพติดออกฤทธิ์เท่าเดิม และเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดยาเสพติด ก็จะเกิด
อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย นั่งไม่ติด ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ม่านตาขยาย
การวินิจฉัย
๑. พบอาการของการขาดยาเสพติด
๒. พบรอยเข็มฉีดยา
๓. ตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ
เรื่องน่ารู้อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาเสพติดและพบบ่อย
๑. มีโอกาสตายได้มาก เนื่องจาก
๑.๑ ใช้ยาเกินขนาด
๑.๒ สืบเนื่องจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงต่างๆ
๒. ปัญหาเนื่องจากการใช้ยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่น เกิดการติดเชื้อ โรคเอดส์ ตับอักเสบ
เป็นต้น
๓. อัตราการตายต่อปีประมาณ ๑:๑๐๐ ผู้ติดยาเสพติด3
การดูแลรักษา
๑. การใช้เมทาโดน (Methadone) ทดแทน โดยให้รับยาแบบผู้ป่วยนอก
ส่วนใหญ่มักเป็นที่นิยมของผู้ติดยาที่ไม่มีความต้องการจะหยุดเฮโรอีนอย่างแท้จริง เพียงแต่หันมาใช้
เมทาโดน ซึ่งปลอดภัยกว่าและไม่ผิดกฎหมาย
๒. การรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานบำบัดรักษายาเสพติดเพื่อการหยุดยา ทั้งนี้
เพื่อรับการดูแลรักษาในช่วงภาวะที่มีอาการเนื่องจากการขาดยา เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วการบำบัด
รักษาทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำต่อไปเป็นเวลานาน
การติดยาอื่นๆซึ่งไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ
ปัจจุบัน ปัญหาการใช้ยาผิดๆซึ่งไม่ใช่เพื่อการบำบัดโรค โดยเฉพาะพวกยากล่อม
ประสาทและยากระตุ้นประสาทมีมากขึ้น
ยากล่อมประสาทหรือยาระงับประสาทพวกเบนโซไดอาซีปินส์ ทำให้เกิดอาการติด
ทางใจได้ ส่วนอาการติดทางกายมักจะไม่เกิด ยกเว้นในกรณีที่ใช้ยาเป็นจำนวนมากเกิน ๑๐๐
มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าหยุดยาทันที อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิด เหงื่อออกมาก
บางรายมีอาการชัก2
การรักษา คือ การค่อยๆหยุดยาและป้องกันการเกิดอาการชักร่วมไปกับการบำบัด
รักษาทางจิตใจ
ยากระตุ้นประสาท2 พวกแอมเฟตามีน มักจะใช้ในลักษณะยาเสริมพลังสมอง เป็น
พวกยาขยัน ยาม้า พวกที่ใช้ยานี้เป็นประจำเมื่อขาดยาจะมีอาการเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง กังวล
วุ่นวายใจ ฝันร้าย บางคนมีอารมณ์เศร้าถึงกับฆ่าตัวตาย บางคนตื่นตกใจ สับสน ควบคุมตนเอง
ไม่ได้ ทำร้ายผู้อื่น บางรายปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก หนาวๆร้อนๆ เจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อ
บางแห่งหดตัว เจ็บปวดจากการบีบรัดของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ การใช้
ยาอยู่นานๆ หรือใช้มากๆ จนเกินขนาด จะเกิดอาการเป็นพิษจากแอมเฟตามีน มีอาการหน้าแดง
หรือหน้าซีด หน้าเขียว มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว มีปัญหาต่างๆเกี่ยวกับหัวใจ มีความดันโลหิตขึ้นสูง
เลือดออก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก สั่น เดินไม่ตรง ชักหมดสติ การตายจากการได้รับ
ยาประเภทนี้เกินขนาด มักจะพบในรายที่มีไข้สูง ชัก และช็อคหมดสติ
อาการวิกลจริตที่เกิดจากแอมเฟตามีนพบได้ไม่น้อย โดยจะมีอาการหวาดกลัว
หวาดระแวง มีประสาทหลอนทั้งตาและหู บางรายหวาดกลัวมากจนถึงกับฆ่าตัวตาย หรือหนีจน
กระทั่งเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้น
การรักษาอาการวิกลจริตนี้ใช้วิธีการประคับประคองทางร่างกายและจิตใจ ป้องกัน
การเกิดอันตรายด้วยการใช้ยาควบคุมอาการวิกลจริตใน ๒-๓ วันแรก อาการนี้จะหายไปได้เอง
ในระยะเวลาไม่นานนัก
การใช้สารระเหย
พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น คือ การดมทินเนอร์และกาวติดพลาสติก ซึ่งมีสารอะซิโตน
และโทลูอีนอยู่ นอกจากนี้ อาจจะเป็นของอื่น เช่น น้ำยาลบคำผิด ยาขัดรองเท้า เป็นต้น
สารพวกนี้ทำให้เกิดผลที่เป็น3 พิษต่อร่างกายคล้ายยากล่อมประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น มี
ความรู้สึกคล้ายตัวเองลอยอยู่ มีอารมณ์รื่นเริง ขาดการยับยั้งชั่งใจ มึนงง ง่วงซึม พูดไม่ชัด
เดินเซ ความอดทนอดกลั้นน้อยลงก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ บางรายอาจเกิดประสาทตาหลอน
อาการเป็นพิษจากสารนี้อาจเป็น ๑๕ นาทีถึงหลายชั่วโมงก็ได้3 ถ้าใช้น้อยๆจะทำให้ง่วงเหงา
หาวนอน ถ้าใช้มากๆอาจทำให้หมดสติได้ และเมื่อใช้ไปนานๆจะมีการติดยาทางด้านจิตใจและ
ร่างกาย อาการขาดยาที่พบได้ คือ ได้กลิ่นกาว น้ำหนดลด รู้สึกเจ็บแสบบริเวณใบหน้าส่วนล่าง
สาเหตุของการตายเนื่องจากการดมกาว
๑. พิษของสารระเหยมีต่อตับ ไต สมอง และไขกระดูกโดยตรง
๒. เกิดการเกร็งของหลอดลม ทำให้หยุดหายใจ
๓. พิษของกาวทำให้เกิดอาการหมดสติ และตายได้
๔. การหายใจไม่ออกเนื่องจากบางรายใช้ถุงพลาสติกครอบหายใจ
๕. อุบัติเหตุหรือพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดขณะเมาสารระเหย
สารเสพติดอื่นที่ไม่ใช่ฝิ่น
กัญชาเป็นยาเสพติดที่มีมาแต่สมัยโบราณ2 ผู้ที่สูบกัญชาเข้าไปจะมีอาการเมาใน
ระยะ ๑๐-๓๐ นาทีหลังสูบ จะรู้สึกหวาดกังวล บางทีกลัวตาย รู้สึกกลัวโดยไม่มีสาเหตุ มีอาการ
อยู่ไม่สุข หลังจากนั้น ๒-๓ นาที ผู้สูบจะรู้สึกจิตใจสงบ และเกิดภาวะมีความสุขใจเกินปกติ
พูดมาก รู้สึกตัวหรือแขนขาเบา หัวเราะบ่อย บังคับให้หยุดหัวเราะไม่ได้ รู้สึกตัวเองหลักแหลม
มีความคิดต่างๆผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่จะมีความสับสน จำไม่ได้ว่าความคิดที่ผ่านไปนั้นมีอะไร
บ้าง บางครั้งมีประสาทตาหลอน เห็นแสงสีต่างๆวูบวาบ เป็นภาพสับสน ยุ่งเหยิง หลังจากนั้น
ผู้สูบจะง่วงนอนและหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาผู้สูบยังจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่เมากัญชาได้
กัญชาไม่ก่อให้เกิดการติดทางกาย อาจจะมีการติดทางจิตใจได้ เมื่อหยุดสูบกัญชา
อาจกระวนกระวายอยากสูบบ้างในระยะแรก แต่อาการก็จะหายไป ปัญหาของกัญชา คือ เมื่อ
เด็กและวัยรุ่นได้ทดลองสูบกัญชาแล้ว จะเกิดความอยากลองและนำไปสู่ยาเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง
คือ เฮโรอีน ต่อไป
สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด4
ปัจจุบันมีสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จำนวน ๑๓๔ แห่ง เป็นรัฐบาล ๑๑๒ แห่ง
ของเอกชน ๒๒ แห่ง โดยตั้งอยู่ตามภาคต่างๆของประเทศดังนี้
กรุงเทพฯ ๔๑ แห่ง
ภาคกลาง ๓๑ แห่ง
ภาคเหนือ ๓๐ แห่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๑ แห่ง
ภาคใต้ ๒๑ แห่ง

" ยาเสพติด: การดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นและการปฐมพยาบาล "

วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานที่ หอประชุมคุรุสภา สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
วัตถุประสงค์ เมื่อจบการบรรยายแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถบอก
๑. ลักษณะอาการผิดปกติเนื่องจากการใช้ยาเสพติดที่พบบ่อย
๒. ตัดสินใจในการส่งต่อนักเรียนเมื่อมีปัญหายาเสพติด ไปยังสถานบริการที่เหมาะสมได้
๓. ให้การดูแลช่วยเหลือแนะนำนักเรียน ครอบครัว และตนเอง เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดในเบื้องต้นได้
๔. ป้องกันการเกิดปัญหายาเสพติด โดยให้คำแนะนำแก่นักเรียนและชุมชนได้
๕. นำความรู้เรื่องสุขภาพจิตและปัญหายาเสพติดไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมงานอนามัยโรงเรียนได้

สุขภาพจิต และปัญหายาเสพติด
ความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่น
ทุกชาติทั่วโลก จากปัญหาสุขภาพจิตไม่ดีทำให้มีการใช้ยาเสพติดมากขึ้น เมื่อความต้องการยาเสพ
ติดมากการลักลอบค้ายาก็มากขึ้นตามส่วน กลายเป็นปัญหาระดับชาติและเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคม
ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ฝิ่นเป็นปัญหาสำคัญ จนกระทั่งมีการประกาศ
ให้ยกเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ เป็นต้นมา
หลังจากนั้นก็มีปัญหาการใช้มอร์ฟีนและเฮโรอีนมาแทนที่ รวมทั้งยาเสพติดอื่นๆ เช่น สุรา กัญชา เป็นต้น
สมัยก่อนผู้ติดฝิ่นเกือบจะทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ กรรมกรผู้ใช้แรงงานหรือผู้สูงอายุ
เยาวชนนั้นแทบจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับฝิ่นเลย จนกระทั่งยี่สิบกว่าปีมานี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทาง
วัฒนธรรม ภาวะเศรษฐกิจและสังคม ช่องว่างทางด้านความคิด ความเข้าใจระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ก็
มีมากขึ้น การใช้เฮโรอีนในเยาวชนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ รวมทั้งการใช้ยา เช่น เซโคนาล ก็มี
ปรากฎมากขึ้น มีการใช้ยาประเภทแอมเฟตามีน เพื่อกระตุ้นไม่ให้ง่วงและดูหนังสือได้นาน ปัญหา
เรื่องโรคเอดส์ที่พ่วงติดกับปัญหายาเสพติด การสูดดมสารระเหย โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชนที่
แพร่หลายขึ้นมากจนเป็นแฟชั่น เป็นต้น
ความหมายของการติดยาเสพติด2
เมื่อพูดถึงยาเสพติดเรามักจะหมายถึงฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น คือ มอร์ฟีนและฝิ่น
สังเคราะห์ คือ เฮโรอีน พวกนี้เป็นยาเสพติดให้โทษ (Narcotic drugs) ผู้ที่ติดยาจะต้องใช้
ยาอยู่เสมอและต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อขาดยาก็จะมีอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ
องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "การติดยา" ว่าเป็น "ภาวะที่
เกิดขึ้นจากการใช้ยาเป็นประจำโดยสม่ำเสมอหรือเป็นพักๆ และการใช้ยานี้มีผลเป็นอันตรายต่อ
ผู้ใช้ยาเอง ต่อสังคมหรือ ต่อทั้งตัวเองและสังคม"
การวินิจฉัยว่าผู้ใดติดยาเสพติดหรือไม่นั้นจะต้องยึดถือหลักสำคัญ คือ "มีการใช้ยา
เป็นประจำจนเป็นนิสัย และเมื่อหยุดยาแล้วจะมีอาการของการหยุดยา คือ Withdrawal Symptom"
การติดยานั้นเมื่อเริ่มใช้ใหม่ๆจะเป็นการติดทางใจ คือ ยาทำให้สบายใจ หายตึง
เครียด หายอึดอัดใจ ผู้ใช้รู้สึกพอใจ ติดใจ ทำให้ใช้ไปเรื่อยๆ เมื่อใช้ไปนานเข้าขนาดของยาก็
ต้องเพิ่มมากขึ้นทุกทีเพื่อให้ออกฤทธิ์เท่าเดิม สภาวะทางร่างกายก็เปลี่ยนไปเพื่อปรับให้เข้ากับ
สภาพที่มียาอยู่ในร่างกาย เมื่อหยุดยาร่างกายก็จะเสียสภาวะที่ปรับไว้นี้ และทำให้เกิดอาการ
ของการหยุดยาขึ้น อาการจะแล้วแต่ชนิดของยาที่ใช้
สุขภาพจิตและสาเหตุของการติดยาเสพติด1
มนุษย์นั้นมีความวิตกกังวล (anxiety) อยู่เสมอในชีวิตประจำวันทั่วๆไป มากบ้าง
น้อยบ้าง ถ้ามีแต่เพียงเล็กน้อย สุขภาพจิตดีก็แก้ไขไปได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าความตึงเครียดมี
มากร่วมกับสุขภาพจิตไม่ดี ปัญหาทางจิตใจและยาเสพติดก็เกิดขึ้นตามมา นอกจากยาเสพติดให้
โทษแล้ว ยาอื่นๆประเภทที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทก็ถูกนำมาใช้กันในทางที่ผิด ใช้กันพร่ำเพรื่อจน
ติดเป็นนิสัยได้ ยาในกลุ่มนี้3 ได้แก่
๑. ยาระงับหรือกล่อมประสาท เช่น เหล้า สารระเหย และยากลุ่ม Benzodiazepine
๒. ยากระตุ้นประสาท เช่น Amphetamine
๓. ยากลุ่มที่ทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น LSD
การที่คนจะติดยาเสพติดได้นั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งด้านตัวคนคนนั้นเอง
และด้านภาวะแวดล้อม
ทางด้านภาวะแวดล้อมนั้น ได้แก่ วัฒนธรรม ประเพณี กฎเกณฑ์ต่างๆของสังคม
ซึ่งมีส่วนส่งเสริมหรือขัดขวางการใช้ยาเสพติดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสังคม กฎหมายเกี่ยว
กับยาเสพติด การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ความยากง่ายในการแสวงหายาเสพติดก็มีความ
สำคัญไม่น้อย
ทางด้านจิตเวชศาสตร์นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่งในส่วนของตัว
ผู้ติดยาเสพติดเอง คือ พื้นฐานเดิม บุคลิกลักษณะของบุคคลนั้น ซึ่งมักจะเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตนเอง
และชอบพึ่งคนอื่น ไม่ค่อยมีความอดทนต่อความกังวลหรือไม่สบายใจ และไม่สามารถอดทนรอคอย
ใช้ความคิดพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ต้องการพ้นจากปัญหาต่างๆโดยเร็วที่สุดและง่ายที่สุดโดย
ไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาในภายหลัง ต้องการเพียงความพอใจสบายใจเฉพาะหน้าเท่านั้น
บุคคลเหล่านี้เมื่อรู้สึกกังวลว้าเหว่ทางใจ และพบว่ายาเสพติดช่วยให้สบายใจขึ้นได้ทันทีแม้ชั่วครั้ง
ชั่วคราว ก็ยึดเอาเป็นที่พึ่งโดยไม่ทันคำถึงถึงผลที่ตามมาหรือไม่สนใจผลที่ตามมา นอกจากนี้บุคคล
ที่มีโรคทางจิตเวชหลายชนิด เช่น พวกที่เป็นโรคซึมเศร้า โรคประสาท ก็อาจใช้ยาเสพติดเพื่อ
ให้ตัวเองสบายใจขึ้น คนบางจำพวกก็ใช้ยาเพื่อให้เกิดความพอใจที่สามารถทำอะไรขัดกับ
กฎหมายของสังคมได้ เป็นการลดความเจ็บใจจากการที่ตัวเองไม่ประสบความสำเร็จในการ
ปรับตัว สร้างฐานะทางสังคม
นอกจากนี้ สาเหตุอื่นๆอาจจะมาจากความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับผลของยาที่มีต่อร่างกาย
เช่น ต่อเรื่องทางเพศ ความอยากจะลอง อยากรู้ หรือพยายามรักษาตัวเองให้พ้นจากโรค หรือ
ความทุกข์ทรมานทางกายหรือทุกข์ทางใจ
ในการศึกษาปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติดนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา
ถึงปัจจัยหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เรื่องของชุมชน
เรื่องทางชีววิทยา ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ปัจจัยเรื่องของจิตใจหรือสุขภาพจิตทั้งสิ้น
ปัญหายาเสพติดในเด็กและวัยรุ่น
ปัจจุบันมีเด็กและวัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ใช้ยาผิดหรือติดยาเสพติด ซึ่งไม่ควรจะมีและ
น่าจะต้องป้องกันมิให้มี เพราะเด็กเหล่านี้คืออนาคตของชาติ เมื่อเด็กจิตใจว้าวุ่นสุขภาพจิตไม่ดี
โอกาสที่จะหลงใช้ยาผิดก็มีมาก จึงควรหาทางป้องกันโดยศึกษาว่าความต้องการในจิตใจเด็กนั้นมี
อย่างไรบ้าง หรือศึกษาว่าจิตใจของเด็กซึ่งใช้ยาเสพติดนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจะพบว่าเด็กๆเหล่านี้
ก็มีความต้องการเช่นเดียวกับจิตใจของเด็กที่กำลังพัฒนาคนอื่นๆ กล่าวคือ มีความต้องการซึ่งเป็น
ตัวผลักดันให้เด็กกระทำพฤติกรรมต่างๆ ความต้องการเหล่านี้ คือ
ความต้องการให้สังคมรับรอง (Need to be accepted)
ความต้องการมีส่วนในสังคม (Need to belong)
ความต้องการให้คนรัก (Need to be loved)
ความต้องการจะรักคนอื่น (Need to love)
ความต้องการจะแสดงความรู้สึกที่อัดอั้น (Need to express oneself)
ความต้องการเป็นคนสำคัญ (Need to be important)
ความต้องการให้คนยกย่อง (Need to gain recognition)
ถ้าเด็กได้รับสิ่งซึ่งสนองความต้องการตามสมควร เด็กก็จะเกิดความมั่นคงและอบอุ่น
ในจิตใจ เด็กเหล่านี้มักจะอยู่ในครอบครัวที่พ่อแม่รักใคร่กันดี มีศีลธรรม ไม่วิวาท ไม่แตกแยก
และมีเมตตากรุณา บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เด็กที่พ่อแม่วิวาทกันเสมอครอบครัวแตกแยก
จะไม่ได้รับความรักความอบอุ่น และความต้องการตามธรรมชาติของจิตใจ เด็กก็หันไปหาที่อื่นซึ่ง
อาจเป็นยาเสพติดได้ ครอบครัวนับเป็นสถาบันแรกและสถาบันหลัก โรงเรียนคือสถาบันที่สอง
การร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ผู้ปกครองและโรงเรียน น่าจะช่วยให้เด็กที่มีปัญหาได้รับการช่วย
เหลือที่เหมาะสมขึ้น
จะเห็นได้ว่าการป้องกันปัญหายาเสพติดในเด็กนั้น ต้องพิจารณาจากหลายๆปัจจัย
เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด คือ การให้การศึกษาแก่นักเรียนและประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่
สุดและถูกที่สุด นอกเหนือไปจากปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อให้มีสังคมที่อบอุ่นมีกฎหมายควบคุมที่ดี มีการ
รักษาที่ดีและมีมาตรการการฝึกนิสัยและอาชีพที่มั่นคง ไม่ให้กลับมาเป็นผู้ติดยาเสพติดอีก มาตรการ
เหล่านี้น่าจะพิจารณาแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. การปลูกพืชหรือสร้างอาชีพขึ้นแทนการปลูกฝิ่น
๒. การใช้กฎหมายบังคับในการป้องกันปราบปรามสิ่งเสพติด
๓. การรักษาผู้ติดยาเสพติดในโรงพยาบาล
๔. การให้สุขภาพจิตศึกษา
การให้สุขภาพจิตศึกษาเป็นประโยชน์มากสำหรับเด็กและวัยรุ่น อาจจะมีการปฏิบัติใน
โรงเรียน ต่อไปทางวิทยุ โทรทัศน์ จากคนไปสู่คน จากครอบครัวหนึ่งไปสู่ครอบครัวหนึ่ง ให้เด็กๆ
เข้าใจว่ายานั้นมีไว้เพื่อรักษาโรค ยาไม่ใช่ของที่จะลองเล่น ให้รู้จักผลร้ายของยาเสพติดต่างๆ
สำหรับวัยรุ่นก็ให้เข้าใจว่ายาเสพติดนั้นมิได้มีผลดีในด้านใดเลย รวมทั้งเรื่องทางเพศด้วย มีแต่จะ
ทำลายร่ายกาย สมอง และจิตใจในภายหลัง ควรให้เด็กได้พิจารณาเห็นภาพความทุกข์ทรมานของ
ผู้ติดยา ว่ามีความทรุดโทรมน่าเวทนาเพียงใด
การให้สุขภาพจิตศึกษาที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของการสร้างสุขภาพจิต
การสร้างสุขภาพจิต1
การปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพจิตที่ดีนั้น จะพิจารณาได้เป็น
๑. ระยะยาว และ
๒. ระยะสั้น
การสร้างสุขภาพจิตระยะยาวหรือการป้องกันสุขภาพจิตเสื่อมระยะยาวนั้น สิ่งสำคัญ
ที่สุด คือ การศึกษาให้เข้าใจชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางจิตวิทยาในเรื่องของสุขภาพจิตกับ
ครอบครัวและชุมชน ซึ่งตามวิชาการสุขภาพจิตแล้ว การป้องกันนี้แบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ
การป้องกันระยะแรก การป้องกันระยะที่สอง และการป้องกันระยะที่สาม
การป้องกันระยะแรก ประกอบไปด้วยการป้องกันสมองมิให้เกิดอันตราย หรือกระทบ
กระเทือนนับแต่ระยะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งเจริญเติบโต การป้องกันอุปัทวเหตุ การ
ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนภาวะทุพโภชนาการต่างๆอันจะทำให้สมองเกิดอันตรายได้ เป็นต้น
อีกส่วนหนึ่งนั้น คือ การป้องกันเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์และจิตใจ คือ การให้ความรู้เรื่องการพัฒนา
เด็กกับบิดามารดา สิ่งที่จิตใจของเด็กๆต้องการ การให้การศึกษาและแนะแนวก่อนชีวิตสมรส
การให้การศึกษา และเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต แก่ผู้มีอาชีพหลักที่จะเป็นผู้นำในสังคม เช่น ครู
แพทย์ เป็นต้น การศึกษาให้เข้าใจในเรื่องของเศรษฐกิจ ปัญหาของสังคม การสงเคราะห์แก้ไข
ปัญหาตึงเครียดที่เผชิญอยู่ เช่น ปัญหาการอพยพ ปัญหาอุตสาหกรรม สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ปัญหา
เด็กถูกทอดทิ้ง เป็นต้น
การป้องกันระยะที่สอง คือ การรักษาโรคหรืออาการที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มแรกก่อนที่
จะลุกลามต่อไป ได้แก่ งานของโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพจิต งานของนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น
การป้องกันระยะที่สาม คือการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจให้สังคมยอม
รับและให้ผู้ติดยาเสพติดกลับเข้าอยู่ในสังคมได้
การสร้างสุขภาพจิตระยะเฉพาะหน้า
ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวเราหรือตั้งต้นที่ตัวเรานั่นเอง ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน
แสงสิงแก้ว ได้เคยแนะนำข้อปฏิบัติบางประการ ซึ่งท่านได้ประยุกต์จากวิชาการสุขภาพจิตและ
พุทธปรัชญาบางประการ พอสรุปได้ดังนี้
๑. ในสังคมที่ผันผวนเปลี่ยนแปลง เมื่อมีทุกข์หรือสุขภาพจิตเสื่อมพึงเข้าใจว่า
ใครๆก็มีทุกข์ทั้งนั้น ใครๆก็พบความเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น ชีวิตหรือสังคมทั่วไปมีเกิด มีพัฒนา มีตั้งอยู่
แล้วก็มีดับหรือสลายไปในที่สุด การรู้จักเปรียบเทียบก็ช่วยได้บ้าง คือ มีทุกข์ก็มองให้ซึ้งต่อไปอีกว่า
เราทุกข์เท่านี้แต่ยังมีคนอื่นอีกมากที่ทุกข์มากกว่าเรา
๒. ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเราหลีกไม่ได้ ก็ให้พึงมองดูแง่ดีของสังคมนั้นบ้าง
๓. การเริ่มสร้างงานที่เป็นประโยชน์ก็ช่วยสร้างสุขภาพจิตดีได้ เมื่อมีงานทำ
จิตใจไม่ว่างและมีรายได้ก็มีสุขภาพจิตดีขึ้น นอกจากงานแล้วต้องมีสิ่งชดใช้อารมณ์ที่ตึงเครียดบ้าง
สิ่งนั้นคือ กีฬา การบันเทิง การอ่านหนังสือ การคบหาบัณฑิต การมีงานอดิเรก เป็นต้น
๔. เมื่อรู้สึกมีสุขภาพจิตเสื่อมหรืออารมณ์ปรวนแปร อย่าเก็บนิ่งไว้ให้พูดออกมา
ทันที ถ้ายิ่งได้พูดกับบัณฑิตหรือคนที่เรารักไว้ใจก็ยิ่งดี เพราะการได้พูดออกมานั้นเป็นการระบาย
ได้ดีที่สุด ผู้ที่มีทุกข์มากประเภทหนึ่งคือ ผู้ไม่มีเพื่อน ไม่มีคนรับฟังคำระบาย ไม่มีใครยินดียินร้าย
ด้วยในชีวิต ผู้ที่หมั่นตรวจสอบตนเองด้วยความเที่ยงธรรมของจิตใจคอยเตือนตนเองและแก้ตนเอง
เสมอ จะแก้เหตุของความทุกข์ได้ การค้นหาสาเหตุนั้นมีจำนวนมากที่สาเหตุเนื่องมาจากครอบครัว
เศรษฐกิจและอารมณ์ภายในของตัวเอง การแก้จึงต้องขจัดปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม ส่วน
การแก้ไขอารมณ์ตัวเองนั้นคือ การตัดเสียซึ่งความอยากมีอยากใหญ่แล้วสร้างความรู้จักพอ ต่อจาก
นั้นก็สร้างความดีงามให้เกิดขึ้นในตนต่อไปตามลำดับ คือ สร้างนิสัยของความมีคุณธรรม ศีลธรรม
และวัฒนธรรม
๕. การเป็นผู้มีศรัทธาในศาสนาใดศาสนาหนึ่งและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาจะ
ช่วยผ่อนคลายความทุกข์และสร้างสุขภาพจิตที่ดีได้
๖. ในกรณีที่มีอารมณ์กลัดกลุ้มในสังคมซึ่งผันผวน และไม่สามารถตัดสินใจทำอะไร
ได้เลยกลุ้มมากขึ้น ทางออกที่ง่ายที่สุด คือ ให้พิจารณาว่าการกระทำอะไรที่ขวาสุดและอะไรซ้าย
สุด แล้วให้เลือกทางสายกลาง
การให้สุขภาพจิตศึกษาในเด็กและเยาวชน
การอบรมโดยการพูดจะได้ผลดีในเมื่อเด็กยังเล็กและยังอยู่ในครอบครัว อบรมโดย
บิดามารดาหรือผู้ปกครองเอง และโดยความใกล้ชิดร่วมกับลักษณะที่ให้การอบรม ต้องประกอบด้วย
๑. ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ หรือความเมตตา
๒. การเป็นตัวอย่างที่ดี และความมีศีลธรรมของผู้ใหญ่เอง
การให้ความรัก ความเข้าใจ ความเห็นใจ และความมีศีลธรรมของผู้ใหญ่นั้น ทำให้
เด็กเกิดความอบอุ่น ความสัมพันธ์ใกล้ชิด ความรักใคร่ และความเป็นกันเองไม่มีช่องว่างระหว่าง
วัย เด็กก็จะเติบโตขึ้นพร้อมด้วยความอบอุ่นและมีศีลธรรม
การอบรมเยาวชนด้วยคำพูดคำสอนไม่ค่อยได้ผล เยาวชนมักจะนึกประท้วงในใจว่า
เขานั้นโตแล้ว จากสภาพจิตใจของเยาวชน การเรียนรู้การสร้างสุขภาพจิต และศีลธรรม จึงมัก
จะมาจากกีฬา การบันเทิง และสังคม1
การกีฬาทำให้เด็กอดทน รู้จักแพ้-ชนะ ให้อภัย รู้จักเอื้อเฟื้อ รู้จักตรงต่อเวลา ซึ่ง
สามารถทำได้ เพราะเด็กวัยนี้มีจิตใจอยากเด่นเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำที่
จะให้เด่น อาจจะเป็นการเด่นทางการเรียน ทางกีฬา หรืออื่นๆ เด็กนั้นกำลังโตมีพลังงานมาก
มาย การกีฬาช่วยตอบสนองความต้องการต่างๆเหล่านี้ ถ้าไม่ได้เล่นกีฬาที่เป็นระเบียบมีกติกา
เด็กอาจหาทางออกทางเกะกะก็ได้
การบันเทิงนั้นเพื่อระบายอารมณ์และรับเอาเรื่องของค่านิยม ศีลธรรมต่างๆในการ
แสดงนั้น เด็กอาจจะอุปโลกน์ตัวเองต่อบุคลิกภาพของตัวละคร โดยการประทับใจบทบาทนั้นๆได้
การส่งเสริมละครในโรงเรียน ถ้าเรื่องดีๆจะมีประโยชน์มาก นอกจากนั้นละครดีๆมักจะลงท้าย
ด้วยคติธรรมเสมอ เท่ากับสร้างศีลธรรมในจิตใจเด็กไปด้วยในตัว
การสังคมมีหลายรูปแบบ กิจกรรมร่วมกันทำให้เยาวชนมีโอกาสสังสรรค์ แลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น ระบายความรู้สึกอัดอั้นของตนได้มากขึ้น การพูดระบายความในใจออกมานั้น ไม่มีที่
ไหนดีเท่ากับเพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และได้รับประโยชน์จากกันและกันมากด้วย สำหรับ
ผู้ใหญ่นั้นถ้าเด็กมีปัญหาที่จะพึงช่วยได้ก็โดยการเข้าใจชีวิต พัฒนาการทางจิตของเด็กความต้อง
การของเด็กวัยนี้ และโดยการเห็นใจ ถ้าเขาแสดงความคิดเห็นก็ฟังเขา บางทีเขาจะมีความ
คิดเห็นดีๆก็ได้ เพียงแต่ฟังและให้การยอมรับเขาเท่านั้น เขาจะปิติภูมิใจ เกิดความอบอุ่นใจ
มีกำลังใจที่จะทำความดีขึ้นได้
กิจกรรมของโรงเรียนนั้นจะได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าผู้ปกครองทางบ้านร่วมมือด้วย จะส่ง
เสริมเด็กได้ทั้งการเรียนและทางศีลธรรม ดังนั้น สิ่งที่น่าสนับสนุนสิ่งหนึ่งคือ สมาคมครูและ
ผู้ปกครอง1
ศูนย์เยาวชนก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ สนับสนุนให้เด็กทำไม่ใช่ห้าม ให้เด็ก
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เมื่อไม่ว่าง จิตก็ไม่ว่าง ไม่วุ่นวาย ให้เด็กมีความรู้สึกรับผิดชอบ
มีสิทธิและหน้าที่ และทุกคนช่วยกันทำเพื่อส่วนรวม เด็กรู้สึกว่าตนนั้นเป็นส่วนหนึ่งและเป็นที่ยอมรับ
ของกลุ่มของสังคม
ในส่วนของหลักสูตรในโรงเรียนนั้น กระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการปรับปรุงเนื้อหา
ในเรื่องของยาเสพติด และระบบการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในเรื่องของ
การป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา
ลักษณะอาการของการติดยาเสพติด
การป้องกันระยะที่สองที่สำคัญ คือ การรู้ปัญหาในระยะเริ่มแรก เพื่อจะได้ให้การ
ดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นการรู้จักลักษณะอาการของการติดยาเสพติดจึงมีความจำเป็น
ลักษณะที่เด่นชัด คือ การที่ร่างกายเกิดการทนต่อยาเสพติดขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มจำนวน
ขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ยาเสพติดออกฤทธิ์เท่าเดิม และเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายขาดยาเสพติด ก็จะเกิด
อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย นั่งไม่ติด ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน ม่านตาขยาย
การวินิจฉัย
๑. พบอาการของการขาดยาเสพติด
๒. พบรอยเข็มฉีดยา
๓. ตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะ
เรื่องน่ารู้อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ยาเสพติดและพบบ่อย
๑. มีโอกาสตายได้มาก เนื่องจาก
๑.๑ ใช้ยาเกินขนาด
๑.๒ สืบเนื่องจากพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงต่างๆ
๒. ปัญหาเนื่องจากการใช้ยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่น เกิดการติดเชื้อ โรคเอดส์ ตับอักเสบ
เป็นต้น
๓. อัตราการตายต่อปีประมาณ ๑:๑๐๐ ผู้ติดยาเสพติด3
การดูแลรักษา
๑. การใช้เมทาโดน (Methadone) ทดแทน โดยให้รับยาแบบผู้ป่วยนอก
ส่วนใหญ่มักเป็นที่นิยมของผู้ติดยาที่ไม่มีความต้องการจะหยุดเฮโรอีนอย่างแท้จริง เพียงแต่หันมาใช้
เมทาโดน ซึ่งปลอดภัยกว่าและไม่ผิดกฎหมาย
๒. การรักษาในโรงพยาบาลหรือสถานบำบัดรักษายาเสพติดเพื่อการหยุดยา ทั้งนี้
เพื่อรับการดูแลรักษาในช่วงภาวะที่มีอาการเนื่องจากการขาดยา เมื่อพ้นระยะนี้ไปแล้วการบำบัด
รักษาทางจิตใจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำต่อไปเป็นเวลานาน
การติดยาอื่นๆซึ่งไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษ
ปัจจุบัน ปัญหาการใช้ยาผิดๆซึ่งไม่ใช่เพื่อการบำบัดโรค โดยเฉพาะพวกยากล่อม
ประสาทและยากระตุ้นประสาทมีมากขึ้น
ยากล่อมประสาทหรือยาระงับประสาทพวกเบนโซไดอาซีปินส์ ทำให้เกิดอาการติด
ทางใจได้ ส่วนอาการติดทางกายมักจะไม่เกิด ยกเว้นในกรณีที่ใช้ยาเป็นจำนวนมากเกิน ๑๐๐
มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าหยุดยาทันที อาจจะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิด เหงื่อออกมาก
บางรายมีอาการชัก2
การรักษา คือ การค่อยๆหยุดยาและป้องกันการเกิดอาการชักร่วมไปกับการบำบัด
รักษาทางจิตใจ
ยากระตุ้นประสาท2 พวกแอมเฟตามีน มักจะใช้ในลักษณะยาเสริมพลังสมอง เป็น
พวกยาขยัน ยาม้า พวกที่ใช้ยานี้เป็นประจำเมื่อขาดยาจะมีอาการเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง กังวล
วุ่นวายใจ ฝันร้าย บางคนมีอารมณ์เศร้าถึงกับฆ่าตัวตาย บางคนตื่นตกใจ สับสน ควบคุมตนเอง
ไม่ได้ ทำร้ายผู้อื่น บางรายปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก หนาวๆร้อนๆ เจ็บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อ
บางแห่งหดตัว เจ็บปวดจากการบีบรัดของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ การใช้
ยาอยู่นานๆ หรือใช้มากๆ จนเกินขนาด จะเกิดอาการเป็นพิษจากแอมเฟตามีน มีอาการหน้าแดง
หรือหน้าซีด หน้าเขียว มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว มีปัญหาต่างๆเกี่ยวกับหัวใจ มีความดันโลหิตขึ้นสูง
เลือดออก คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก สั่น เดินไม่ตรง ชักหมดสติ การตายจากการได้รับ
ยาประเภทนี้เกินขนาด มักจะพบในรายที่มีไข้สูง ชัก และช็อคหมดสติ
อาการวิกลจริตที่เกิดจากแอมเฟตามีนพบได้ไม่น้อย โดยจะมีอาการหวาดกลัว
หวาดระแวง มีประสาทหลอนทั้งตาและหู บางรายหวาดกลัวมากจนถึงกับฆ่าตัวตาย หรือหนีจน
กระทั่งเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้น
การรักษาอาการวิกลจริตนี้ใช้วิธีการประคับประคองทางร่างกายและจิตใจ ป้องกัน
การเกิดอันตรายด้วยการใช้ยาควบคุมอาการวิกลจริตใน ๒-๓ วันแรก อาการนี้จะหายไปได้เอง
ในระยะเวลาไม่นานนัก
การใช้สารระเหย
พบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น คือ การดมทินเนอร์และกาวติดพลาสติก ซึ่งมีสารอะซิโตน
และโทลูอีนอยู่ นอกจากนี้ อาจจะเป็นของอื่น เช่น น้ำยาลบคำผิด ยาขัดรองเท้า เป็นต้น
สารพวกนี้ทำให้เกิดผลที่เป็น3 พิษต่อร่างกายคล้ายยากล่อมประสาท ทำให้เกิดอาการตื่นเต้น มี
ความรู้สึกคล้ายตัวเองลอยอยู่ มีอารมณ์รื่นเริง ขาดการยับยั้งชั่งใจ มึนงง ง่วงซึม พูดไม่ชัด
เดินเซ ความอดทนอดกลั้นน้อยลงก่อให้เกิดพฤติกรรมรุนแรงได้ บางรายอาจเกิดประสาทตาหลอน
อาการเป็นพิษจากสารนี้อาจเป็น ๑๕ นาทีถึงหลายชั่วโมงก็ได้3 ถ้าใช้น้อยๆจะทำให้ง่วงเหงา
หาวนอน ถ้าใช้มากๆอาจทำให้หมดสติได้ และเมื่อใช้ไปนานๆจะมีการติดยาทางด้านจิตใจและ
ร่างกาย อาการขาดยาที่พบได้ คือ ได้กลิ่นกาว น้ำหนดลด รู้สึกเจ็บแสบบริเวณใบหน้าส่วนล่าง
สาเหตุของการตายเนื่องจากการดมกาว
๑. พิษของสารระเหยมีต่อตับ ไต สมอง และไขกระดูกโดยตรง
๒. เกิดการเกร็งของหลอดลม ทำให้หยุดหายใจ
๓. พิษของกาวทำให้เกิดอาการหมดสติ และตายได้
๔. การหายใจไม่ออกเนื่องจากบางรายใช้ถุงพลาสติกครอบหายใจ
๕. อุบัติเหตุหรือพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดขณะเมาสารระเหย
สารเสพติดอื่นที่ไม่ใช่ฝิ่น
กัญชาเป็นยาเสพติดที่มีมาแต่สมัยโบราณ2 ผู้ที่สูบกัญชาเข้าไปจะมีอาการเมาใน
ระยะ ๑๐-๓๐ นาทีหลังสูบ จะรู้สึกหวาดกังวล บางทีกลัวตาย รู้สึกกลัวโดยไม่มีสาเหตุ มีอาการ
อยู่ไม่สุข หลังจากนั้น ๒-๓ นาที ผู้สูบจะรู้สึกจิตใจสงบ และเกิดภาวะมีความสุขใจเกินปกติ
พูดมาก รู้สึกตัวหรือแขนขาเบา หัวเราะบ่อย บังคับให้หยุดหัวเราะไม่ได้ รู้สึกตัวเองหลักแหลม
มีความคิดต่างๆผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่จะมีความสับสน จำไม่ได้ว่าความคิดที่ผ่านไปนั้นมีอะไร
บ้าง บางครั้งมีประสาทตาหลอน เห็นแสงสีต่างๆวูบวาบ เป็นภาพสับสน ยุ่งเหยิง หลังจากนั้น
ผู้สูบจะง่วงนอนและหลับไป เมื่อตื่นขึ้นมาผู้สูบยังจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่เมากัญชาได้
กัญชาไม่ก่อให้เกิดการติดทางกาย อาจจะมีการติดทางจิตใจได้ เมื่อหยุดสูบกัญชา
อาจกระวนกระวายอยากสูบบ้างในระยะแรก แต่อาการก็จะหายไป ปัญหาของกัญชา คือ เมื่อ
เด็กและวัยรุ่นได้ทดลองสูบกัญชาแล้ว จะเกิดความอยากลองและนำไปสู่ยาเสพติดให้โทษที่ร้ายแรง
คือ เฮโรอีน ต่อไป
สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด4
ปัจจุบันมีสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จำนวน ๑๓๔ แห่ง เป็นรัฐบาล ๑๑๒ แห่ง
ของเอกชน ๒๒ แห่ง โดยตั้งอยู่ตามภาคต่างๆของประเทศดังนี้
กรุงเทพฯ ๔๑ แห่ง
ภาคกลาง ๓๑ แห่ง
ภาคเหนือ ๓๐ แห่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๑ แห่ง
ภาคใต้ ๒๑ แห่ง

จิตวิทยาการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก

นงพงา ลิ้มสุวรรณ พ.บ.
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี


บทนำ ความรู้ทางกุมารเวชศาสตร์ได้เจริญขึ้นมาก และคงจะมากขึ้นตามลำดับในวันข้างหน้า สุขภาพ
กายของเด็กไทยก็ได้รับการดูแลดีขึ้นตามไปด้วย จากความสามารถของกุมารแพทย์ แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่
สำคัญพอๆกับสุขภาพกาย คือ สุขภาพจิตของเด็ก เพราะผู้ที่สุขภาพดีควรจะดีทั้งกายและใจ กายและใจ
ไม่สามารถแยกจากกันได้ดังที่เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าภาวะจิตใจที่ไม่เป็นสุขย่อมส่งผลกระทบถึงสุขภาพกาย
ดังเห็นได้ชัดเจนในกลุ่มโรค Psychophysiologic disorders ซึ่งปัจจุบันทางสหรัฐอเมริกาได้
เรียกโรคกลุ่มนี้ว่า Psychological factor affecting physical conditions ซึ่งยิ่งเป็นการ
ชี้ให้เห็นชัดถึงอาการทางกายที่เกิดจากภาวะจิตใจเป็นเหตุ
เนื่องจากเด็กต้องอาศัยการเลี้ยงดูของผู้ใหญ่เป็นเวลานานหลายปี จึงจะสามารถช่วยตนเอง
และพึ่งตนเองได้ ฉะนั้นการเลี้ยงดูและการอบรมเด็กจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการจะทำให้เด็กมีสุขภาพ
กายและใจดีเต็มที่ตามศักยภาพสูงสุด(maximum potential) ของเด็กแต่ละคน การที่จะเป็นเช่นนี้ได้
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสามารถเลี้ยงดูและอบรมเด็กได้อย่างเหมาะสมโดยอาศัยประสบการณ์ของ-
ตนเอง และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือหรือจากผู้รู้ กุมารแพทย์เป็นผู้หนึ่งสามารถ
ที่จะมีบทบาทได้อย่างมากในการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการให้คำแนะนำและปรึกษา เพราะกุมารแพทย์
มักจะเป็นผู้ที่พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กให้ความเชื่อถือและมาพบอยู่แล้วเสมอๆด้วยปัญหาทางกาย เช่น เป็นหวัด
ตัวร้อน หรือมาสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้เด็ก
จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก
(Psychological aspect of child rearing)
สิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์นั้น แบ่งได้เป็น ๒ พวกใหญ่ๆคือ
สิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย(physical needs) เช่น อาการ อากาศสำหรับหายใจ อุณหภูมิที่เหมาะสม
เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น นอกจากนี้แล้วมนุษย์ยังมีสิ่งจำเป็น
สำหรับจิตใจ (psychological needs)ที่จะทำให้มนุษยนั้นอยู่อย่างปกติสุข สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพ
คือ สามารถประกอบการงานให้เป็นประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว และสังคม ถ้าเด็กได้รับแต่สิ่งจำเป็น
สำหรับร่างกายอย่างครบบริบูรณ์ แต่ขาดสิ่งจำเป็นสำหรับจิตใจ เราก็อาจได้เด็กที่รูปร่างแข็งแรง
สูงใหญ่ตามเกณฑ์มาตรฐานทุกประการ แต่อาจมีท่าทางไม่เป็นสุข หงอยเหงา ไม่ร่าเริงแจ่มใส
เชื่องซึม หรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบทำลาย หรือไม่สามารถรับผิดชอบได้ตามวัย เช่น ไม่สามารถ
เรียนหนังสือได้ ฉะนั้นควบคู่กับแนะนำว่าเด็กอายุเท่าใด ต้องให้นมแบบไหน อาหารเสริมอะไร
ฉีดวัคซีนอะไร ก็ควรจะให้ความรู้พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กอายุเท่าใดมีลักษณะนิสัยตามธรรมชาติอย่างไร
และเด็กต้องการตอบสนองต่อความต้องการทางจิตใจอย่างไรถึงจะเหมาะสมเพื่อทำสุขภาพจิตดีควบคู่
กับการมีสุขภาพกายดี
ความต้องการด้านจิตใจของเด็ก
ความต้องการด้านจิตใจของเด็กนั้นมีความแตกต่างกันไปบ้างตามวัยของเด็ก แต่พอจะสรุป
ได้กว้างๆ ว่า สิ่งต่อไปนี้มีความจำเป็น และเป็นที่ต้องการสำหรับเด็กทุกคน คือ
1) ความรักความอบอุ่น เด็กรู้สึกอยากให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูรักตน รู้สึกว่าตนเองเป็นที่
ต้องการ มีค่าสำหรับพ่อแม่ รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับ เด็กไม่ควรรู้สึกว่าพ่อแม่รังเกียจตน ไม่ชอบ
ลำเอียง ปฏิเสธหรือไม่เป็นที่ต้องการ เป็นส่วนเกิน จำใจต้องเลี้ยงดูตน และไม่ควรรู้สึกมีปมด้อยหรือ
น้อยเนื้อต่ำใจต่างๆ นาๆ เจตคติหรือท่าทีของผู้ใหญ่ที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อจิตใจของเด็ก
เกี่ยวกับเจตคติของพ่อแม่ต่อลูก สิ่งที่สำคัญที่จะต้องกล่าวถึง คือ เด็กต้องการความรักอย่าง
เหมาะสม ไม่ใช่รักมากอย่างไม่มีขอบเขต เช่น ตอมใจทุกอย่างโดยไม่มีเหตุผลจนทำให้กลายเป็นคน
ตามใจตัวเองตลอดเวลาไม่สามารถอดทนต่อภาวะที่คนปกติธรรมดาควรจะอดทนได้ จนกลายเป็นข้อ
บกพร่องทางบุคลิกภาพไป
2) การกระตุ้นอย่างเหมาะสม การกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมนั้นขึ้นกับวัยของเด็ก เช่น
วัยทารกแรกเกิดก็ต้องการ การอุ้ม การสัมผัส การยิ้ม การพูดคุยด้วยเพื่อให้ได้ยินเสียง พอโตขึ้นก็
ต้องการเพิ่มขึ้น เช่น การเล่น การพูดคุย ของเล่นที่เหมาะสมกับวัยก็จะช่วยกระตุ้นได้ดี สำหรับเด็กใน
ขวบปีแรก เพื่อกระตุ้นการได้ยิน การใช้สายตา ควรใช้ของเล่นที่เคลื่อนไหวที่มีสีสด และมีเสียงพอโต
ขึ้นอีกเด็กจะต้องการการกระตุ้นเพื่อลดการเคลื่อนไหว ควรใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น การใช้นิ้วมือ
การใช้มือเท้า และอื่นๆ การกระตุ้นต่างๆ นี้ผลทางจิตใจที่ได้คือเด็กรู้สึกได้รับความรัก ความสนใจ และ
ที่สำคัญ คือ ได้กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ความรู้สึกสนุก อยากทดลอง
อยากลองทำ ทำให้รู้สึกมีความมั่นใจ กล้าแสดงออกตามไปด้วย
3. ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย (Security and protection)ความรู้สึกมั่งคงปลอดภัย
ของเด็กได้มาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะพ่อแม่ ถ้าพ่อแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ครอบครัวสงบ
สุข เด็กจะไม่รู้สึกกลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง บ่อยครั้งที่พบว่าเด็กมีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
โดยไม่มีโรคทางกายเป็นเหตุแต่กลับสัมพันธ์กับเวลาเด็กเกิดรู้สึกเครียด รู้สึกกลัวที่เห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน
ทำร้ายร่างกายกัน หรือกำลังจะหย่าร้างกัน
นอกจากนั้นเด็กก็ยังต้องการความรู้สึกว่าผู้ใหญ่สามารถปกป้องตนได้ ไม่ปล่อยให้เกิด
อันตรายกับตน เด็กควรได้รับการปกป้องจากอันตรายทางกาย เช่น อุบัติเหตุต่างๆ และควรได้รับการ
ปกป้องไม่ให้รับความกระทบกระเทือนใจอย่างรุนแรง (psychic trauma), เช่น ภาพอุบัติเหตุที่น่า
สยดสยองมาก ภาพภัยพิบัติตามธรรมชาติที่ร้ายแรงน่าสพึงกลัว ภาพเกี่ยวกับทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย
ของเด็ก และควรเตรียมตัวเตรียมใจให้เด็กสำหรับเหตุการณ์สำคัญๆเช่นการมีน้องใหม่ การผ่าตัดเป็นต้น
4) คำแนะนำและการสนับสนุน (Guidance and support) เด็กต้องการคำแนะนำ
หรือคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ว่าอะไรเป็นอะไร เช่น บทบาทที่เหมาะสมตามเพศของเด็กหญิงหรือเด็กชาย
การปฏิบัติตัวในสังคม ค่านิยม ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ และควรให้การสนับสนุนช่วยเหลือใน
เรื่องต่างๆ ที่เห็นเหมาะสม เช่น กิจกรรมที่เด็กต้องการจะทำ อาจช่วยด้านการเงินหรือช่วยหาอุปกรณ์
ช่วยให้ความคิด
5) ความสม่ำเสมอ และการมีขอบเขต (Consistency and limits) ทั้ง 2 อย่างมี
มีความสำคัญที่จะทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้หรือไม่ได้ ไม่สับสนทั้งความคิดและ
การปฏิบัติ กฎเกณฑ์ที่ใช้ควรจะมีเหตุผลและมีการปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย เช่น ไม่ให้ใส่รองเท้าเข้า
ในบ้าน เพราะทำให้บ้านสกปรก ก็ควรเป็นเช่นนี้ตลอดไป ไม่ใช่เวลามีเด็กรับใช้ใส่ได้ เวลาแม่ต้องทำ
ความสะอาดเองใส่ไม่ได้หรือวันหนึ่งไม่ยอมให้ทำสิ่งหนึ่งแต่พออีกวันทำสิ่งเดียวกันก็ยอมให้ทำได้ สิ่งเหล่านี้
อาจเป็นการเตะบอลล์เล่นในบ้าน การฉีกกระดาษจากหนังสือ การขีดเขียนที่ฝาผนังบ้าน ผู้ใหญ่บางคนไม่
แน่ใจว่าอะไรควรจะห้ามเด็ก อะไรไม่ควรห้าม กลัวจะตามใจมากไป หรือเข้มงวดเกินไปก็ให้ถือหลัก
ง่ายๆ ว่ามี 3 อย่างที่เด็กทำไม่ได้แน่นอน คือ
1. การทำร้ายตัวเอง (รวมทั้งการเล่นที่เป็นอันตราย เช่น ของมีคม)
2. การทำร้ายผู้อื่น
3. การทำลายสิ่งของ
6) ให้โอกาสใช้พลังงานในทางสร้างสรรค์ วัยเด็กเป็นวัยที่มีกำลังงานในตัวมาก เด็ก
ต้องได้รับโอกาสให้ใช้พลังงานไปในทางสร้างสรรค์ เช่น การเล่น การออกกำลังกายในเกมกีฬาต่าง ๆ
การมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสม ถ้าผู้ใหญ่ไม่เห็นความสำคัญข้อนี้อาจต้องการให้เด็กอยู่อย่างสงบเรียบร้อย
เสมอ อาจทำให้กลายเป็นเด็กเก็บกด ไม่กล้าแสดงออก เชื่องซึมหรือเฉี่อยชา ไม่ร่าเริงแจ่มใส ไม่มี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การอบรมเด็ก
(Discipline technique of children)
ผู้ที่เคยเลี้ยงดูเด็ก คงทราบดีทุกคนว่า ไม่ว่าเด็กคนหนึ่งจะเป็นเด็กดีเพียงใดก็ตาม ในบาง
ครั้งบางคราวก็ยังอาจมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ใหญ่จำเป็นต้องมีวิธีการที่จะแก้ไข
พฤิตกรรมที่ไม่เหมาะสม และให้เด็กเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถควบคุมตัวเอง ให้มีความ
ประพฤติที่สังคมยอมรับได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้ใหญ่คอยควบคุมในเวลาต่อมา พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือ
พฤติกรรมที่เราไม่ต้องการในเด็กมักได้แก่
- การไม่เชื่อฟังเมื่อห้ามปราม เช่น การปีนป่ายไปบนที่สูง
- การไม่ยอมทำอะไรบางอย่างที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ทำ เช่น ทำการบ้าน เก็บของเล่นเข้าที่
ทำงานที่ได้รับมอบหมาย
- พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง เช่น ตีน้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย การทำลายสิ่งของเมื่อโกรธ
หรือถูกขัดใจ
พ่อแม่จำนวนมากไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไรกับพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกถึงจะให้ผลดีกับเด็ก
ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์มีมากขึ้น แต่พ่อแม่ทั่วไปมักจะยังไม่ได้รับประโยชน์จากความรู้
นี้มีแต่นักวิชาการและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตเด็กจำนวนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ความเข้าใจให้การ
อบรมเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้องสมควรได้รับการเผยแพร่ออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ วิธีการตอบสนอง
ต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กทำได้ดังนี้
1. การใช้เหตุผล (Reasoning)
การให้เหตุผลอย่างตรงไปตรงมาซึ่งเด็กสามารถเข้าใจ มักจะสามารถแก้ไขพฤติกรรม
ได้ในเด็กยิ่งเล็กการให้เหตุผลต้องแบบง่าย สั้น ไม่พูดยืดยาว เช่น มีดเล่นไม่ได้เพราะจะบาดมือหนู
หนูไม่ปีนขึ้นที่สูงเดี๋ยวจะตกลงมาเจ็บ
2. การใช้ท่าทีที่หนักแน่นและจริงจัง (Firmness)
เวลาที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กทำอะไรแล้วเด็กอิดเอื้อน ไม่ยอมทำ วิธีหนึ่งที่ได้ผลคือต้อง
พูดให้หนักแน่นและจริงจังว่าให้ทำเดี๋ยวนี้ อาจต้องใช้ท่าทีประกอบด้วย เช่น ลุกขึ้นจูงมือเด็กให้ไปทำสิ่ง
ที่ต้องทำ เช่น เด็กอิดเอื่อนไม่ยอมทำการบ้านแม้จะพูดเตือนแล้วหลายครั้ง แม่ต้องแสดงให้เห็นว่าแม่
หมายถึงว่าลูกต้องทำการบ้านแล้วโดยบอกด้วยเสียงที่หนักแน่นว่าเอาสมุดการบ้านออกมาแล้วนั่งลงทำ
เดี๋ยวนี้เลย ถ้าเด็กไม่ยอมลุกก็ต้องจูงมือไปเอาสมุด ดินสอมานั่งลงให้ทำและเฝ้าให้ทำถ้าจำเป็น
3. การใช้สิ่งทดแทน (Alternative response)
เวลาห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ควรสอนเด็กไปด้วยว่าสิ่งไหนที่ทำแทนได้ เช่น
เด็กเล่นของแหลมอยู่จะเอาจากมือเด็กก็ให้เอาของอื่นที่น่าสนใจกว่ามาให้เด็กแทน ไม่ควรหยิบของแหลม
จากมือเด็กเฉยๆ ซึ่งเด็กจะร้องอาละวาดต่อ หรือเห็นเด็กขีดเขียนฝาผนังบ้านอยู่ห้ามไม่ให้ทำเพราะ
สกปรกบ้าน ก็ควรหากระดาษมาให้เด็กได้เขียนแทน เป็นต้น
4. ให้สามารถแสดงความคิดเห็นและความรู้สึก (Freedom to discuss ideas and
feelings)
ควรให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อมีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถพูดออกมาได้อย่างอิสระ หรือมี
ความรู้สึกอย่างไรก็สามารถพูดคุยชี้แจงได้ เช่น เด็กอาจต้องการตัดสินใจเองในการเลือกของใช้ส่วนตัว
ไม่ใช่แม่เลือกให้ แล้วเด็กต้องใช้ทั้งที่ไม่ชอบไม่ถูกใจ
5. การให้รางวัล (Positive reinforcement)
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว เพื่อให้พฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นอีกไม่หายไป
ผู้ใหญ่ควรให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมนั้น อาจเป็นการกล่าวชมด้วยวาจา แสดงกิริยาชื่นชมพอใจใน
พฤติกรรมนั้น เช่น โอบกอด ลูบหัว ปัญหาคือผู้ใหญ่มักจะละเลยไม่กล่าวคำชมเชยเด็ก เพราะเห็นเป็น
พฤติกรรมธรรมดาๆ เช่นเด็กยอมแปรงฟันเอง แต่งตัวเอง แต่จะดุว่าหรือติเตียนเด็กเมื่อเด็กไม่ยอมช่วย
ตัวเอง
การให้รางวัลเด็กอาจให้ได้อีกแบบคือ ให้เมื่อเด็กหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
(Omission training)เช่น กล่าวชมเชย หรือให้รางวัลแบบอื่นเมื่อลูกสองคนเล่นกันด้วยดีไม่ทะเลาะ
ไม่ตีกันในช่วงตลอดสองวันที่ผ่านมา
6. การเลิกให้ความสนใจ (Ignoring)
เป็นธรรมชาติของเด็กทุกคนที่ต้องการได้รับความสนใจจากผู้อื่น ฉะนั้น เมื่อเด็กมี
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เราอาจใช้วิธีเลิกให้ความสนใจขณะที่เด็กกำลังกระทำพฤติกรรมนั้น และให้
ความสนใจหรือให้รางวัลกับเด็กที่มีพฤติกรรมที่เราต้องการแทน ตัวอย่าง เช่น ลูกคนหนึ่งกินอาหารดี
อีกคนไม่ค่อยยอมกินเล่นไปเรื่อยๆ แม่ก็อาจชมคนที่กินอาหารดีแต่เฉยๆ ไม่แสดงความสนใจกับลูกคนที่ไม่
ยอมกินแต่เขี่ยอาหารเล่นอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องดุว่า
7. การเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ให้กับเด็ก (Positive model)
ผู้ใหญ่โดยเฉพาะพ่อแม่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์
นั้นมาเรียนรู้ภายหลัง ไม่ใช่ถ่ายทอดตามพันธุกรรมอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ เด็กจะเอาอย่างผู้ใหญ่ที่อยู่
ใกล้ชิด โดยดูจากการกระทำของผู้ใหญ่มากกว่าการสั่งสอนด้วยวาจา เช่นพูดสอนว่าการพูดปดเป็นสิ่งไม่ดี
ห้ามทำ แต่พอมีคนที่พ่อแม่ไม่ต้องการพบมาพบ ก็ใช้ลูกออกไปบอกว่า พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน การกระทำแบบนี้
ก็เท่ากับสอนลูกว่าที่จริงพูดปดได้
8. การลงโทษ (Punishment)
โดยทั่วไปจะพยายามไม่ใช้การลงโทษ นอกจากวิธีอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ผล
สิ่งสำคัญที่สุดคือเวลาใช้การทำโทษนี้ผู้ใช้ต้องไม่ใช้ด้วยอารมณ์โกรธ เกลียด ไม่ชอบเด็ก เพราะจะทำให้
เด็กยิ่งต่อต้าน เวลาใช้ควรแสดงให้เด็กเห็นว่าเราต้องการเพียงหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเท่านั้นและ
พร้อมที่จะหยุดการลงโทษเมื่อเด็กคิดว่าสามารถควบคุมตัวเองให้ไม่ประพฤติ ไม่เหมาะสมอีก การลงโทษ
มีตั้งแต่เบาๆ จนไปถึงระดับที่รุนแรงขึ้น
8.1 การดุว่า การดุว่าด้วยวาจาในเด็กบางคนก็ได้ผลดี สามารถหยุดการกระทำ
อันไม่สมควรของเด็ก ควรใช้เมื่อการบอกห้าม และการใช้เหตุผลไม่ได้ผลแล้ว
8.2 แยกเด็กออกไปอยู่ตามลำพัง เช่น เด็กนักเรียนคนหนึ่งคุยมากขณะเรียน รบกวน
คนอื่นบ่อยๆ ก็อาจแยกเด็กไปนั่งคนเดียว หันหน้าเข้ามุมห้อง ทำให้เด็กไม่สนุก เบื่อที่เด็กทั่วไปจะไม่ชอบ
อย่างมาก
8.3 การปรับ ให้เด็กรับผิดชอบกับของเสียหายที่เด็กทำไป เช่น เด็กคนหนึ่งโกรธ
แม่ที่ขัดใจ แล้ววิ่งไปถอนต้นไม้ของแม่ที่เพิ่งปลูก จึงให้แม่หักเงินค่าขนมเด็กทีละเล็กละน้อยชดใช้ค่าต้นไม้
ที่ซื้อมา
8.4 การตี การตีอาจทำให้เด็กหยุดประพฤติที่ไม่พึงประสงค์ได้บางครั้ง แต่การใช้
กำลังกับเด็กมีข้อเสียด้วย คือ ถ้าใช้บ่อยๆ จะทำลายความสัมพันธ์ ระหว่าง เด็กและผู้ใหญ่ และเด็กจะ
ใช้วิธีรุนแรงและใช้กำลังบ้าง เพราะเอาอย่างผู้ใหญ่และรู้สึกคับข้องใจที่ผู้ใหญ่ใช้วิธีรุนแรงกับตน เช่น
อาจไปชกต่อยเพื่อนที่โรงเรียนบ่อยๆ จนเป็นปัญหาเกิดขึ้น
สรุป
จิตวิทยาการเลี้ยงดูและอบรมเด็กนั้นไม่ใช่ของยากจนเกินไป ขอเพียงแต่พ่อแม่ และผู้เกี่ยว
ข้องกับเด็กมองเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องรู้และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์เท่านั้น ก็จะ
สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทางกายและใจของเด็กได้มาก จึงหวังว่าการพยายามเผยแพร่ความรู้อันนี้
จะเป็นประโยชน์ต่อๆ ไป

พัฒนาการทางจิตใจ

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนงพงา ลิ้มสุวรรณ
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี


พัฒนาการทางจิตใจเป็นขบวนการที่สำคัญยิ่งในชีวิตมนุษย์ ที่ควบคู่มากับการพัฒนาการทางร่างกาย มนุษย์แต่ละคนที่เกิดขึ้นมาควรมีโอกาสได้พัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ ให้เต็มศักยภาพที่ได้รับมาตามธรรมชาติ อะไรที่เป็นธรรมชาติเรายังมีความสามารถไปแก้ไขได้น้อยมากในขณะนี้ เช่น พันธุกรรมด้านต่างๆที่ติดตัวมาเนื่องจากได้ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของตน เช่น สีผม รูปร่าง ความฉลาด โรคบางชนิด แต่ส่วนที่เราสามารถทำได้ดีคือ ส่วนที่เป็นพัฒนาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาและหลังจากเด็กคลอดออกมาแล้วโดยจัดสิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสมที่สุดที่เด็กจะพัฒนาไปอย่างเต็มที่เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อตนเอง และสังคมส่วนรวมต่อไป
พัฒนาการที่เหมาะสมจะเป็นการป้องกัน จิตพยาธิสภาพ (psychopathology) ต่างๆ ได้มากมาย 1เช่น บุคลิกภาพปรวนแปรต่างๆที่มีความร้ายแรงไม่แพ้โรคร้ายๆทางกาย คล้ายโรคมะเร็ง เบาหวานและโรคอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอต้องพึ่งพิงผู้อื่นเสมอ ช่วยตัวเองไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้เอง อารมณ์ปรวนแปรเสมอ ก็มีสภาพไม่ต่าง
กับผู้ที่มีโรคร้ายที่ทำให้เป็นอัมพาตจนเดินไม่ได้ ทำงานไม่ได้ ป่วยทางใจแบบนี้ก็เปรียบเสมือนมีอาการ "อัมพาต" ทางจิตคือ ร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวัย แต่กลับต้องเป็นภาระของผู้อื่นอีก ฉะนั้น พัฒนาการทางจิตใจที่ดีจึงจะช่วยให้คนๆ นั้นเติบโต มาแล้วมีความปกติสุขต่อไป
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางจิตใจ
เมื่อแรกเกิดมนุษย์มีสภาพที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย2,3 ต่างจากสัตว์โลก
อื่นหลายชนิด เช่น เต่าออกจากไข่จะสามารถคลานลงทะเลไปหากินเองได้เลยโดยไม่ต้อง
พึ่งพ่อแม่ สภาพช่วยตัวเองไม่ได้ของทารกนี่เองที่ทำให้พัฒนาการของมนุษย์เราขึ้นกับปัจจัย
สิ่งแวดล้อมมาก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ดีที่เหมาะสม
ถึงอย่างไรก็ตามปัจจัยทางชีวภาพก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ก็ยังเป็นรองกว่าปัจจัยจาก
สิ่งแวดล้อม เนื่องจากพัฒนาการทางจิตใจมีปัจจัยหลายอย่างมาก แต่พอจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
ได้ 2 กลุ่ม คือ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) คือสิ่งที่ติดตัวเด็กมาแต่
แรกเกิด
2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (Environmental factors) สิ่งแวดล้อมคือ
สภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กมาปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดและพัฒนาตนเอง จนกระทั่งมี
ลักษณะเฉพาะของตัวเอง
ทั้ง 2 ปัจจัยนี้มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมากตามแผนภูมิข้างล่างนี้
ปัจจัยทางชีวภาพ

สิ่งแวดล้อม

บุคลิกภาพเฉพาะตน

ปัจจัยทางชีวภาพ ประกอบด้วย
1. พันธุกรรม
2. ฮอร์โมน
3. เพศ
4. ลักษณะรูปร่าง
5. พื้นฐานของอารมณ์
6. สภาพร่างกาย
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. สภาพแวดล้อมขณะอยู่ในครรภ์มารดา
2. การอบรมเลี้ยงดู
3. เจตคติของพ่อแม่
4. บุคลิกภาพของพ่อแม่
5. ค่านิยมของพ่อแม่
6. สภาพครอบครัว
7. สภาพเพื่อนบ้าน
8. สภาพสังคม
9. วัฒนธรรม
10. ศาสนา
พันธุกรรม
เด็กจะได้รับพันธุกรรมจากพ่อแม่มาแล้วตั้งแต่เด็กเกิด จะเห็นได้ชัดในสภาพ
ร่างกาย เช่น สีผิว สีผม ระดับเชาวน์ปัญญา ถ้าเด็กมีลักษณะเป็นที่ถูกใจของพ่อแม่ก็ทำ
ให้เกิดเป็นที่ยอมรับและต้องการมากขึ้น ถ้าเด็กมีลักษณะไม่ตรงตามความต้องการก็อาจ
ทำให้เด็กไม่เป็นที่รักและต้องการเท่าที่ควร ก็อาจทำให้ได้รับการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ก็จะ
พัฒนาไปต่างกัน ลักษณะทางพันธุกรรมนี้จึงมีอิทธิพลทำให้เด็กได้รับการตอบสนองจาก
สิ่งแวดล้อมผิดแผกกันได้
ฮอร์โมน
พบว่าระดับฮอร์โมนที่แตกต่างกันมีอิทธิพลทำให้เด็กพัฒนาไปต่างกัน เช่นในเด็ก
ที่มีระดับฮอร์โมน androgen มาก จะจากที่แม่ได้รับ progestin หรือจาก androgenic
syndrome ก็ตาม จะมีพละกำลังมาก ชอบเล่นกลางแจ้ง ชอบเล่นกับเพศชายมากกว่าเพศ
หญิง ไม่ชอบของเล่นของเด็กหญิง เช่น ตุ๊กตา และมีพฤติกรรมแบบเด็กชาย (tomboy
behavior) บางการศึกษาพบว่านักโทษที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและกระทำความผิดทางเพศ
มีระดับ testosterone สูงกว่าคนทั่วไป
เพศ
บทบาทของเพศหญิงและเพศชายที่แตกต่างกันจนเป็นที่ยอมรับกันมานาน ก็จะ
ถูกถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่เด็ก และผู้ใหญ่เองก็จะมีพฤติกรรมต่อเด็กหญิงและเด็กชายต่างกัน
เช่น แม่มักจะให้ความสนใจลูกชายมากกว่าลูกสาว และพ่อซึ่งมักจะเป็นคนแข็งกร้าวกว่าแม่
นั้นก็มักจะปฏิบัติต่อลูกสาวอย่างอ่อนโยนกว่าปฏิบัติต่อลูกชาย
ลักษณะรูปร่าง
Kretschmer พบว่ารูปร่างคนบางแบบมีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพบางลักษณะ
และโรคทางจิตเวชบางชนิด เช่น
- คนอ้วนเตี้ย (Pyknic type) สัมพันธ์กับลักษณะชอบแสดงออก
อารมณ์ปรวนแปรขึ้นลง(Cyclothymic) และโรค Manic-depressive illness
- คนผอมสูง (Asthenic type) สัมพันธ์กับลักษณะไม่ชอบแสดงออก
schizoid และโรคจิตเภท
พื้นฐานของอารมณ์
เด็กมักมีพื้นฐานของอารมณ์แตกต่างกันตั้งแต่แรกเกิดและมักจะคงลักษณะทั่วไป
จนโต เช่น เด็กบางคนปรับตัวง่าย เด็กบางคนปรับตัวยาก บางคนอารมณ์ดี บางคนอารมณ์
ไม่ดี บางคนชอบอยู่เฉยๆเป็นส่วนใหญ่แต่บางคนไม่ชอบอยู่เฉย ชอบเล่นมีชีวิตชีวา พื้นฐาน
ของอารมณ์นี้อาจกระตุ้นให้ได้รับการตอบสนองจากสิ่งแวดล้อมต่างกัน เช่น แม่บางคนชอบ
ลูกที่เฉยๆหรือเลี้ยงง่ายแต่ลูกกลับมีระดับพลังงานสูง ชอบเล่น ไม่อยู่เฉย ก็อาจทำให้แม่
ไม่ชอบ เหนื่อยและบ่นว่าเด็ก ทำให้มีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ซึ่งก็อาจส่งผล
กระทบถึงการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก
สภาพร่างกาย
ความบกพร่องของสภาพร่างกายของเด็กมีผลอย่างมากต่อพัฒนาการ เช่น เด็ก
ที่หูหนวกโดยกำเนิดก็ทำให้พัฒนาการทางภาษาเสียไปด้วย หรือเด็กที่มีสมองพิการก็จะ
หงุดหงิด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ไม่อยู่นิ่ง ซนมากและก้าวร้าวทำให้เลี้ยงยาก นอกจากนั้น
แล้วพ่อแม่เองก็จะมีปฏิกิริยาต่อความพิการของลูก เช่น เด็กตาบอดโดยกำเนิดพ่อแม่อาจ
รังเกียจเด็กทำให้เด็กเติบโตมาอย่างเงียบเหงาขาดการกระตุ้นมักจะมีอาการเคลื่อนไหว
ซ้ำๆ เพื่อกระตุ้นตัวเอง เช่น โยกหัว โยกตัว และก็พูดช้า ไม่สามารถสร้างความผูกพันกับ
คนอื่นได้
สภาพแวดล้อมในครรภ์มารดา
มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ส่งผลกระทบถึงทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดา ตัวอย่าง
เช่น ภาวะขาดเลือดเลี้ยงจากรก โรคหัดเยอรมันในแม่อาจทำให้ทารกคลอดมาพิการ
หลายอย่าง นอกจากนั้นสภาพอารมณ์และจิตใจของแม่ขณะท้องอาจส่งผลกระทบถึงเด็กได้
เช่น แม่ที่ดื่มเหล้าจัดก็อาจทำให้เด็กพิการ แม่ขาดสารอาหารขณะท้อง ก็อาจทำให้เด็ก
เกิดมามีระดับสติปัญญาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตามพันธุกรรมจากพ่อและแม่
วัฒนธรรม
ทันทีที่เด็กเกิดมาก็จะได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมของชนชาติตนที่ได้สะสมมา
หลายชั่วคนแล้ว วัฒนธรรมเหล่านี้เปรียบเสมือนเบ้าที่จะหล่อหลอมให้บุคลิกภาพของเด็ก
จะเป็นอย่างไรตามวัฒนธรรมนั้นๆ เช่นพบว่าชาวบาหลีจะตามใจเด็กของตนอย่างมาก
แล้วพอหย่านมเด็กก็จะเริ่มขัดใจเด็ก และล้อเลียนเด็กที่ยังติดแม่ ซึ่งเป็นการส่งเสริม
ให้เด็กมีลักษณะแยกตัว และอิจฉาน้องได้ง่าย
สภาพครอบครัวและวิธีเลี้ยงดูเด็ก
ลักษณะครอบครัว การเลี้ยงดูและท่าทีของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กจะมีอิทธิพลต่อการ
พัฒนาบุคลิกภาพมากกว่าคุณสมบัติทางชีวภาพของเด็ก เพราะเด็กจะพยายามปรับตัวและมอง
ตัวเองตามที่ผู้ใหญ่มองตน เด็กจะเรียนรู้จากผู้ใหญ่ที่ตนรักโดยการเอาอย่าง เด็กจะคอย
สังเกตและซึมซับสิ่งรอบๆ ตัวไว้ เป็นคุณสมบัติของตนด้วย สรุปคือเด็กจะดูจากพ่อแม่ผู้เลี้ยง
ดูว่าการจะเป็นคนนั้นเขาเป็นกันอย่างไรนั่นเอง สภาพครอบครัวและการเลี้ยงดูมีความ
สำคัญมากกว่าปัจจัยอื่น ถ้าเด็กเติบโตในครอบครัวที่สุขภาพจิตดี อบอุ่น เด็กก็จะพัฒนาอย่าง
มีจิตใจที่แข็งแรงสามารถปรับตัวได้ในสถานะการณ์ต่างๆ หรือคล้ายมีภูมิคุ้มกันต่อปัญหาทาง
อารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้
สภาพสังคม
ลักษณะสังคมที่เด็กอยู่ก็มีผลมากต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่เติบโตในสังคมที่
สงบสุข ยุติธรรมก็จะรู้สึกมั่นคง เชื่อมั่น มองโลกในแง่ดี เด็กที่เติบโตในสังคมที่ว้าวุ่น
ยุ่งเหยิง เช่น ภาวะสงครามก็ยอมรับได้ผลเสียนอกจากนั้นระดับความเป็นอยู่ของครอบครัว
ที่ต่างกันในสังคมก็มักจะปฏิบัติต่างกันต่อเด็ก เช่นครอบครัวคนขั้นกรรมกร(working class)
มักจะสอนให้ลูกเชื่อฟังกฎเกณฑ์จากภายนอกและจะทำโทษลูกเมื่อลูกทำผิดโดยดูจากการกระ
ทำเป็นหลัก ส่วนครอบครัวชนชั้นกลางจะสอนให้ลูกมีความเชื่อในการกระทำของตนเอง
(self direction) และการรับผิดชอบต่อตนเอง การทำโทษของชนชั้นกลางที่จะดู
เจตนาของการกระทำผิดเป็นหลัก และมักใช้วิธีให้กำลังใจและชมเชยมากกว่าคนชั้นกรรมกร
ระยะของการพัฒนาบุคลิกภาพ(Stages of Personality Development)
พัฒนาการทางจิตใจหรือพัฒนาการบุคลิกภาพของมนุษย์นั้นค่อยเป็นค่อยไป
เราจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยต่างๆ เพื่อจะได้ช่วยให้เขาพัฒนาได้เต็มที่
และเหมาะสม 4,5 สิ่งจำเป็นและธรรมชาติของพัฒนาการของเด็กอาจแบ่งได้เป็นระยะๆ
ตามอายุ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้ 6,7,8,9
วัยทารก (Infant stage, อายุ 0-9 ปี)
การกระตุ้น
การที่เด็กจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมที่สลับซับซ้อนนั้น เป็นความ
สามารถที่ต้องพัฒนาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตอนแรกเกิดเด็กจะอยู่ในสภาพต้องพึ่งพา
คนอื่นโดยสิ้นเชิงที่จะดูแลเด็ก เด็กไม่สามารถช่วยตัวเองได้เลย ความสามารถติดตัวมามี
เพียงก้านสมองควบคุมการทำงานของร่างกายบางอย่างเช่น การหายใจ อุณหภูมิ การดูด
การกลืน การไหลเวียนของเลือด การพัฒนาของระบบประสาทและสรีระก็ต้องการการ
กระตุ้นอย่างเหมาะสม ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติแต่จะต้องได้รับการเลี้ยงดูที่
เหมาะสม
จากการทดลองพบว่าลิงชิมเพนซีที่เลี้ยงไว้ในที่มืด 5 - 7 เดือน ไม่ได้รับการ
กระตุ้นจากแสงเลยจะทำให้มีการเสื่อม (atrophy) ของ retinal cell มีความผิด
ปกติของการมองเห็น นอกจากนั้นการได้แสงอย่างเดียวนั้นก็ไม่พอต้องมี active
exploration ด้วยจึงจะสามารถพัฒนาให้ระบบการมองเห็นและระบบกล้ามเนื้อทำงานได้
อย่างประสานกัน (visual motor coordination) เด็กต้องได้รับการกระตุ้นโดยการ
อุ้มสัมผัส พูดด้วย เล่นด้วย มีของที่เด็กสนใจให้เล่นบ้าง สีสวย มีเสียง สรุปคือ ต้องมีการ
เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดให้ความรักความอบอุ่นและตอบสนองต่อความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสม
และสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นพัฒนาการ
พื้นฐานอารมณ์เด็ก (Temperament)
เด็กจะมีความแตกต่างกันในพื้นฐานของอารมณ์ตั้งแต่เกิดมา ความแตกต่างนี้
มีหลายด้าน คือ
1. activity - passivity
2. regularity - irregularity
3. intensity
4. approach - withdrawal
5. adaptive - nonadaptive
6. high - low threshold to stimuli
7. positive - negative mood
8. high - low selectivity
9. high - low distractibility
ถ้าเด็กและแม่เข้ากันได้ในพื้นฐานของอารมณ์ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ราบรื่นขึ้น ถ้าเด็ก
เฉยๆ แต่แม่เป็นคนกระตือรือร้นก็อาจไม่ชอบเด็ก หรือในทางกลับกันถ้าเด็กกระตือรือร้น
มาก (active มาก) แม่ที่ไม่กระตือรือร้นก็อาจหาว่าเด็กซุกซนมากไป พาลไม่ชอบเด็กด้วย
ความผูกพัน (Attachnment, bonding, object relationship)
เด็กพอเข้าเดือนที่ 5 - 6 จะเริ่มจำหน้าแม่ได้ และแสดงอาการติดแม่เป็น
การแสดงว่ามีขบวนการผูกพันเกิดขึ้น แต่ความผูกพันจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อผู้เลี้ยงดูหรือแม่ต้อง
เลึ้ยงดูใกล้ชิดสม่ำเสมอ โดยการให้เวลาและมีปฏิสัมพันธ์กันซ้ำๆ ความผูกพันอาจไม่
พัฒนาเลย ถ้าเลยระยะวิกฤต (critical period) ในช่วง 5 - 12 เดือน แม้การ
ศึกษาบางอันคิดว่าอาจจะยังเกิดขึ้นได้หลังอายุ 1 ปี แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้
เสมอ คุณสมบัตินี้มีความสำคัญต่อมนุษย์ที่จะทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ปกติในตอนโตและเป็น
พื้นฐานที่จะเกิดคุณธรรมต่อไปด้วย เด็กที่มีความผูกพันแล้วอาจจะมีอาการกลัวคนแปลกหน้า
สรุปแล้วเมื่อเด็กอายุครบ 1 ปี ควรจะมีความสัมพันธ์กับแม่อย่างใกล้ชิดและมั่นคง
ถ้าคุณสมบัตินี้บกพร่องไปจากเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ของสังคมเรา คือ
เด็กมีบุคลิกภาพแบบอันธพาล (antisocial personality) ได้ ซึ่งสร้างปัญหาทำผิด
กฎหมายร้ายแรง แม้แต่การฆาตกรรมผู้อื่นได้โดยไม่รู้สึกผิดเลยเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่(ภาพที่ 1)
การพลัดพราก
ในช่วงอายุที่พัฒนาการผูกพันยังไม่ถาวรหรือสมบูรณ์ (อายุ 5 เดือน ถึง
4 - 5 ปี) ถ้ามีการพลัดพรากจากแม่หรือมีอาการขาดแม่ (maternal deprivation)
คือถึงแม่จะอยู่แต่หยุดเลี้ยงดูเด็กด้วยเหตุอันใดก็ตามจะทำให้เด็กมีอาการของเด็กขาดแม่
หรือทำให้มีความบกพร่องของความผูกพันและกระทบกระเทือนถึงการพัฒนาบุคลิกภาพ และ
การพัฒนาสติปัญญาของเด็กด้วย Spitz ในปี พ.ศ. 2495 ได้พบว่าเด็กที่พลัดพราก
จากแม่มาอยู่สถานเลี้ยงเด็ก จะมีอัตราการตายสูงถึง 37% แม้จะให้การเลี้ยงดูอย่างดี
ในเรื่องอาหารการกินและสุขภาพอนามัย การพลัดพรากถ้ายาวนานพอจะทำให้ความผูกพัน
ที่ยังพัฒนาไม่ถาวรขาดลง (break of bonding) เด็กก็จะมีปัญหาความบกพร่องของ
ความผูกพันและอาจนำไปสู่บุคลิกภาพแบบอันธพาลได้เช่นกัน
วัยเตาะแตะ (Toddler stage, อายุ 1 - 3 ปี)
วัยนี้เด็กเริ่มเดินได้ พูดได้ ก็เริ่มจะอยากรู้อยากเห็นและอยากสำรวจสิ่งต่างๆ
มากขึ้น สิ่งแวดล้อมก็เรียกร้องจากเด็กมากขึ้น เช่น การควบคุมการขับถ่าย
การต่อต้าน (Negativism)
วัยเด็กนี้เริ่มอยากเป็นตัวของตัวเองบ้าง ฉะนั้นจะต่อต้านคำสั่งคำบอกของ
ผู้ใหญ่จะปฏิเสธว่า "ไม่" เกือบตลอด ซึ่งเป็นวิธีที่เด็กใช้เพื่อการพัฒนาความเป็นตัวของ
ตัวเอง (autonomy) ผู้ใหญ่ควรเข้าใจและหาวิธีละมุนละม่อมล่อใจเด็กให้ทำตามไม่ใช่
บังคับเรื่อยๆไป ซึ่งจะเพิ่มความขัดแย้งได้ (ภาพที่ 2 )
ความก้าวร้าว (Aggression)
เวลาเด็กถูกห้ามปรามหรือมีข้อจำกัดในการเล่น เช่น การเล่นไฟ วิ่งเล่นไป
ในถนน หรือการขัดใจจากพี่หรือน้องก็อาจแสดงออกอย่างรุนแรง เช่น ร้องดิ้นอาละวาด
หรือทำลายของด้วยความโกรธ หรืออาจรุนแรงกับตัวเอง เช่น โขกหัว ตีตัวเอง
พฤติกรรมอาละวาดจะมีไปได้อีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆน้อยลงและควรจะหายไปเมื่อเข้า
วัยเรียน
การติดสิ่งของ (Transitional object)
เด็กวัยเตาะแตะมักจะติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา หมอน ข้อศอกแม่
ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติที่มีได้ และจะค่อยๆ หายไปเมื่อโตขึ้น
การฝึกการขับถ่าย (Toilet training)
ขบวนการฝึกการขับถ่ายให้เด็กมีความสำคัญ เด็กควรรู้สึกภูมิใจในตนเองที่
สามารถควบคุมการขับถ่ายได้โดยการหัดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าบังคับมากบ่นว่ามากหรือ
ทำโทษรุนแรงเด็กอาจรู้สึกจำใจต้องยอมต่อผู้ใหญ่ และรู้สึกสงสัยในคุณค่าของตนเอง หรือ
ไม่ก็จะใช้วิธีดื้อเงียบต่อต้านเรื่อยไป
Separation anxiety
วัยนี้ถ้ามีการพลัดพรากจะมีปฏิกิริยารุนแรงได้ เช่น การต้องมาอยู่ใน
โรงพยาบาลตามลำพังโดยขาดแม่ ถ้าขาดนานปฏิกิริยาก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
จนอาจถึงมีผลเสียต่อบุคลิกภาพได้ ปฏิกิริยามีดังนี้
1. Stage of protest เด็กจะร้องไห้มาก ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน
ไม่ยอมให้ปลอบโยนจะกอดของที่นำติดตัวมาจากบ้านไม่ยอมปล่อย
เรียกหาแต่แม่เป็นวันๆ ระยะนี้อาจมีอยู่นาน 2-3 ชั่วโมง หรือนานถึงหนึ่งสับดาห์
2. Stage of despair เด็กจะร้องเสียงอ่อนลง หยุดร้องเป็นระยะๆ แยกตัว ซึมเศร้า
3. Stage of detachment ถ้ายังไม่ได้พบแม่เป็นเวลานานต่อไปอีกจะ
ทำให้มีการสูญเสียความผูกพันระหว่างแม่และเด็กที่ได้สร้างมาแล้ว
(break of normal bonding) ซึ่งเป็นผลเสียอย่างมากต่อเด็ก
แม่มาอีกก็ไม่สนใจ จำไม่ได้ และเด็กอาจไม่สามารถรู้สึกผูกพันกับ
ใครได้อีก ซึ่งเป็นผลให้เด็กเติบโตไปไม่สามารถมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้
วัยก่อนเรียน (Preschool age, 3 - 6 ปี)
จะมีการพัฒนาทางภาษาและสติปัญญามากขึ้นตามลำดับทำให้เด็กยิ่งสนใจและ
อยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ทำให้เด็กชอบถามคำถามอยู่เรื่อยๆ ว่าอะไร
ทำไม เพราะอะไร ในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ทำไมถึงมีต้นไม้ ทำไมพระจันทร์ถึงเดิน
ตามเรา ดวงดาวคืออะไร กลางคืนทำไมมืด คนคนแรกมาจากไหน ฯลฯ ผู้ใหญ่ควรตอบ
ง่ายๆ พอที่เด็กจะเข้าใจไม่ควรแสดงความรำคาญหรือดุว่าเด็กเป็นอันขาด
การเล่น
เด็กวัยนี้จะเล่นมากและการเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางจิตใจอย่างมาก
การเล่นมีผลดีหลายอย่างต่อเด็ก (ภาพที่ 4 )
- สนุกเพลิดเพลิน
- ได้ฝึกความสามารถที่ได้มาใหม่ เช่น การวิ่ง การใช้มือ
- คลายเครียด ระบายอารมณ์ที่เก็บกดไว้
- ใช้กำลังงานไปในทางสร้างสรรค์
- ทดลองบทบาทต่างๆ ที่เด็กจะต้องเป็นต่อไป เช่น การเล่นพ่อแม่ลูก
พัฒนาความเป็นหญิงหรือชาย (Sexual identity)
เด็กเริ่มรู้ว่ามนุษย์นั้นแยกเป็นเพศหญิงและเพศชาย โดยอาจดูจากความ
แตกต่างของเสื้อผ้า วิธีพูดจา กิริยาท่าทางและเห็นความแตกต่างของอวัยวะเพศ
การพัฒนาเกิดได้โดยเด็กมักจะดูจากพ่อแม่และผู้ใหญ่รอบข้างเป็นตัวอย่างแล้วเริ่ม
บทบาทที่เหมาะสมสำหรับเพศของตน
ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ
จะมีคำถามเกี่ยวกับเพศ การท้อง การคลอด และจะมีการเล่นอวัยวะ
เพศได้ในวัยนี้ซึ่งพบได้บ่อยมาก ขณะเดียวกันก็อาจมีความกลัวในการที่อาจสูญเสีย
อวัยวะเพศในใจ หรือความกังวลใจในเด็กหญิงที่ตนเองไม่มีอวัยวะเพศแบบชายให้
เห็น (Castration anxiety)
การอิจฉากันระหว่างพี่น้อง (Sibling rivalry)
ในวัยนี้เด็กอยากจะได้ความรักของแม่และพ่อไว้แต่เพียงผู้เดียว การมีน้อง
อาจทำให้มีการอิจฉากัน พ่อแม่จะต้องให้ความรักเท่าๆกัน ให้ความสนใจพี่เท่ากับน้อง
และส่งเสริมบทบาทของพี่ต่อน้องจะช่วยให้เด็กเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน แบ่งปันกัน จะได้
ไม่มีปัญหาที่จะมีนิสัยขี้อิจฉา แข่งขันมากกับเพื่อนและคนรักต่อไป
จินตนาการ (Fantasy)
ช่วงอายุนี้เด็กมีความคิดและจินตนาการมากจะมีการเล่นสมมุติต่างๆ นาๆ
พูดเล่าอะไรเป็นความคิดฝันของตนมาก จนผู้ใหญ่อาจเข้าใจผิดว่าเป็นการพูดปดหรือ
เป็นการปั้นน้ำเป็นตัว อาจกลัวเด็กจะมีนิสัยไม่ดี และอื่นๆ เด็กที่ไม่มีพี่น้องหรือเพื่อน
เล่นคนอื่นอาจถึงกับสมมุติเพื่อนขึ้นแล้วพูดด้วยก็ได้ (imaginary friend) บางที
การสมมุติของเด็กก็เพื่อชดเชยกับความเป็นจริงที่เด็กอยากให้เป็นแต่เป็นไปไม่ได้ หรือ
อยากได้แล้วไม่ได้
ความกลัว (Phobic organization)
วัยนี้อาจรู้สึกกลัวสิ่งต่างๆ เช่น ความมืด กลัวการบาดเจ็บของร่างกายและ
รวมทั้ง Castration anxiety
วัยเรียน (School age, 6 - 12 ปี)
เด็กมีความสามารถในการคิด การจำ การพูด และการรับรู้ดีขึ้นมาก
ทำให้เด็กเริ่มรู้ความเป็นจริงในชีวิตหลายๆ อย่าง การเกิด การตาย ความแตกต่าง
ของเพศหญิงและชายชัดขึ้น ความคิดก็มีเหตุผลมากขึ้น
การควบคุมอารมณ์ (Impulse control)
ระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 5 - 6 ปี เด็กจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ดี อยาก
ได้อะไรต้องเอาให้ได้ทันที รู้สึกอย่างไรแสดงทันที จึงสามารถเห็นว่าบางครั้งเด็กเล็ก
จะมีพฤติกรรมสลับไปมาในการแสดงออกของความรัก ความโกรธ ความเกลียด
อาละวาดเสมอๆ พอถึงวัยนี้เด็กสามารถมีความคิดได้มากขึ้น จึงสามารถที่จะลองคิดดู
ลองเอาอย่างคนอื่นดูบ้าง ไม่ต้องแสดงออกเป็นพฤติกรรมทันที ภาวะสงบของอารมณ์
ได้ทำให้เด็กพร้อมที่จะเรียนหนังสือได้
การพัฒนาจริยธรรม (Superego development)
การสร้างนั้นอาศัยพ่อแม่เป็นตัวอย่าง ก่อนหน้าวัยนี้เด็กไม่ได้รู้จริงว่า
อะไรถูกอะไรผิดแต่ก็ทำตามพ่อแม่ไป พอถึงวัยเรียนเด็กจะรู้สึกจริงๆว่าอะไรถูกต้อง
อะไรไม่ถูกต้อง คือเด็กเริ่มการยอมรับเรื่องความถูกผิดให้เป็นคุณธรรมของตัว
เด็กเอง (internalised) ฉะนั้นในวัยนี้เด็กจะไม่ทำผิดเพียงเพื่อเอาใจพ่อแม่แต่
เพราะเด็กเองเห็นว่าผิดจึงไม่ทำ
การเล่นและการทำงาน
เมื่อรู้ว่ามีความแตกต่างระหว่างการเล่น การทำงานควรให้เด็กรู้สึกสนุก
ที่จะทำงาน รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถทำได้ การเล่นก็เปลี่ยนไป วัยนี้ชอบเล่น
เป็นหมู่เป็นกลุ่ม ชอบเล่นอย่างมีกฎมีกติกา
ความสัมพันธ์กับพ่อแม่และเพื่อน
เด็กชอบที่จะเล่นกับเพื่อน และคนนอกบ้านมากขึ้น จะเอาอย่างเพื่อน บางที
เด็กอาจรู้สึกผิดหวังในพ่อแม่ของตนว่าไม่เก่งเท่าที่ตนเคยคิด (disillusioned)
บางทีมีความเพ้อฝันเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตนไปต่างๆ (family romance) สนใจ
ผู้ใหญ่นอกบ้านมากกว่าพ่อแม่ เช่น ครู ซึ่งเป็นวิธีที่เด็กจะทำให้ตัวเองแยกจากพ่อแม่เป็น
อิสระมากขึ้นตามลำดับ
ความพร้อมที่จะเรียน
ความคิดของเด็กพร้อมเมื่ออายุ 6 ปี เพราะสามารถคิดย้อนกลับไปมาได้
เช่นรู้ว่า 6 + 4 = 10 และก็รู้ว่า 10 - 4 = 6 รู้ความคงที่ของปริมาตร แยกแยะ
น้ำหนัก ส่วนสูงต่างๆได้ การพัฒนาของระบบประสาทและกล้ามเนื้อก็สมบูรณ์มากขึ้น
เช่น การเห็น การได้ยิน การทำงานประสานกันของประสาทรับรู้ส่วนต่างๆ เช่น
eye-hand coordination เป็นต้น
วัยรุ่น (Adolescence, 12 - 18 ปี)
เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก วัยรุ่นจึงต้องมีการปรับตัว
มากกับสิ่งเร้าภายในตัวและสิ่งเร้าจากภายนอก จึงอาจทำให้วัยรุ่นมีปฏิกิริยาต่อการ
เปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ต่างๆ บางครั้งปฏิกิริยาเหล่านี้อาจมองเผินๆ
เหมือนความผิดปกติที่ต้องการความช่วยเหลือได้ แต่โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาบางอย่างจะ
เป็นอยู่ชั่วคราวแล้วหายไปเองได้
การเปลี่ยนแปลงทางกาย
ร่างกายส่วนต่างๆ จะมีการเจริญเติบโตในเกือบทุกๆ ระบบทั้งหญิงและชาย
เช่น ความสูงและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็ว แขนขายาวขึ้น ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อ
กระตุ้นการเติบโตของอวัยวะระบบสืบพันธุ์ทั้งภายในและภายนอก มีการเจริญของร่างกาย
ในส่วนที่เป็นลักษณะประจำเพศ (secondary sex characteristics) เช่น
เด็กชายมีเสียงห้าวขึ้น มีหนวดขึ้น ในเด็กหญิงมีการเจริญเติบโตของเต้านมเกิดขึ้น ใน
เด็กหญิงก็จะมีประจำเดือนเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงสองอย่างหลังนี้จะทำให้เกิดความรู้สึก
ว่าตนเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง (gender identity) การเปลี่ยนแปลงมากๆ แบบนี้อาจ
เป็นสาเหตุของความกังวล หรือความลำบากใจในการปรับตัวของวัยรุ่นได้
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและความคิด
ความเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรทราบไว้ จะได้ไม่
รู้สึกว่าบุตรหลานของตนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนที่ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังหรือเกิดความวิตก
กังวลว่าอาจมีปัญหาร้ายแรงตามมาจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจถึง
การเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจพยายามขัดขวาง ไม่ผ่อนปรนหรือกลับเพิ่มการควบคุมมากขึ้นก็จะ
ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ใหญ่และวัยรุ่นได้ และอาจทำให้วัยรุ่นยิ่งมีปฏิกิริยา
ตอบโต้ที่รุนแรงได้
ความสนใจในตัวเอง (Narcissism)
วัยรุ่นจะสนใจตัวเองมาก รักสวย รักงาม การแต่งกายก็ต้องพิถีพิถันหรือ
ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนฝูง หรือสะดุดตา โดยเฉพาะให้เพศตรงข้ามสนใจ
ความนับถือผู้ใหญ่ (Authority figure)
วัยรุ่นจะให้ความสำคัญผู้ใหญ่น้อยลง มักมีความคิดว่าผู้ใหญ่มีความคิดที่ล้าหลัง
ไม่ทันสมัย และอื่นๆ และเห็นว่าความคิดของตนดีกว่าถูกต้องกว่า ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจ
ถึงธรรมชาตินี้ของวัยรุ่นก็อาจโกรธ เช่น หาว่าดูถูกพ่อแม่ ครู อาจารย์ อาจดุว่ารุนแรง
แล้วเกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาที่รุนแรงได้
ความเป็นตัวของตัวเอง (Independence)
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเป็นตัวของตัวเองมาก และมีความต้องการรับผิดชอบ
ตัวเอง ผู้ใหญ่ควรค่อยๆ ปล่อยให้วัยรุ่นมีอิสระมากขึ้นอย่างเหมาะสม ไม่บังคับหรือมีกฏ
ระเบียบมากเกินไป ควรให้วัยรุ่นสามารถหัดตัดสินใจในขอบเขตที่เหมาะสม วัยรุ่นต้อง
การความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองอย่างมาก บางครั้งจะแยกตัวไปจากบิดามารดาเพื่อ
ไปสู่ความเป็นตัวของตัวเอง จนบางครั้งมีการต่อต้านความคิดและการกระทำของผู้ใหญ่
แสวงหาเอกลักษณ์ของตน (Identity)
เนื่องจากต้องเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า วัยรุ่นจะมองหาว่าตัวเองต้อง
การเป็นคนอย่างไรในอนาคต จะมีอาชีพอะไร บทบาทของตัวเองในฐานะผู้ใหญ่จะ
เป็นอย่างไร ความรู้สึกมั่นใจในตนเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าตัวเองมี
ความสามารถในงานที่ได้รับมอบหมายหรือรับผิดชอบ (experiencing success)
ฉะนั้น วัยรุ่นไม่ควรได้รับมอบหมายงานที่ยากเกินความสามารถ เพราะเมื่อทำไม่
สำเร็จแล้วจะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นคนไร้ความสามารถได้ ซึ่งอาจเป็นปมด้อยติดตัว
ไปถ้าประสบความล้มเหลวบ่อยๆ
การคบเพื่อน
ในวัยรุ่นเพื่อนมีอิทธิพลมาก เพราะวัยรุ่นต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน
จึงมักเอาอย่างและค่านิยมของเพื่อน ถ้าคบเพื่อนดีมีกิจกรรมที่เหมาะสมก็จะเป็นผลดี
ต่อตัววัยรุ่นและสังคม ถ้าคบเพื่อนที่เกเรมีความประพฤติไม่เหมาะสมก็อาจพาไปให้เสียได้
ความประพฤติของวัยรุ่น
วัยรุ่นมักมีความประพฤติ ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว เป็นผลจากความพยายามที่จะ
แสดงถึงความสามารถพึ่งตนเองและไม่ต้องการพึ่งผู้อื่น บางครั้งอาจดูเป็นผู้ใหญ่มากแต่
อาจกลับเป็นเด็กในเวลาไม่นานนัก ความประพฤติที่ก้าวร้าวอาจเป็นผลจากความเครียด
ทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกในความไม่แน่ใจตนเอง ความกดดันทางเพศ ความรู้สึกต่อ
เพศตรงข้าม ความกังวลเกี่ยวกับชีวิตอนาคต และอื่นๆ
ชอบเพ้อฝัน (Fantasy)
วัยรุ่นมักมีความเพ้อฝันค่อนข้างมาก เด็กหญิงมักเขียนบันทึกประจำวัน
เด็กชายมักพูดโทรศัพท์บ่อยๆ นานๆ
สนใจในสังคม
วัยรุ่นจะมีความคิดเกี่ยวกับส่วนรวมและสังคม ชอบการเสียสละและเห็น
ประโยชน์ของคนอื่นเป็นที่ตั้ง และมักเกิดความรู้สึกไม่พอใจในสังคมที่ไม่สมบูรณ์แบบ
อย่างที่ควรจะเป็น (idealism)
ความสนใจในเรื่องเพศ
การเปลี่ยนแปลงทางกายของระบบสืบพันธุ์ ทำให้เกิดความสนใจทางเพศ
และสนใจเพศตรงข้าม ความประพฤติทางเพศของวัยรุ่นได้รับอิทธิพลจากครอบครัวที่
วัยรุ่นนั้นเติบโตมาว่าครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสมเพียงไร วัยรุ่นควรจะมี
ความรู้สึกว่าตนเองมีความปกติมีความสามารถ รู้สึกอิสระเรื่องทางเพศ และควรมี
ความรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องความสุขตามธรรมชาติ รวมทั้งสามารถพูดคุยหาความรู้
เกี่ยวกับธรรมชาติทางเพศเมื่อต้องการ อีกทั้งเข้าใจว่าความสัมพันธ์ทางเพศนั้น เป็น
ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดพิเศษระหว่างมนุษย์ที่มีความรักต่อกัน เป็นการแสดงออกของ
ความรักระหว่างชายหญิง จะช่วยป้องกันพฤติกรรมส่ำส่อนทางเพศได้
บทสรุป
พัฒนาการทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้คนเราเป็นคนที่มี
คุณภาพดี มีจิตใจปกติ สามารถมีความสุข มีความรับผิดชอบ ปรับตัวได้ในสถานการณ์
ต่างๆ สามารถทำหน้าที่ของตนได้ในครอบครัวและสังคมที่ตนอยู่ อีกทั้งไม่สร้าง
ความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น พัฒนาการที่ดีต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยทางชีวภาพของเด็กกับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา
ผู้เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็กจึงมีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจบทบาทของ
ตนที่จะช่วยพัฒนาเด็ก และป้องกันปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมอันไม่พึง
ประสงค์ หรือเมื่อพบว่ามีความเบี่ยงเบนของพัฒนาการก็ควรรีบแก้ไข ทำเองหรือ
ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เด็ก หรือบุคลากรทางสุขภาพจิตอื่นๆ แต่ถึงอย่างไร
การป้องกันย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดขึ้นเสียก่อนเสมอ
เอกสารอ้างอิง