วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

คุณค่าของการชนะใจตนเอง

คนเราจะชนะใจตนเองในด้านใดก็ตาม จะได้ ผลดีในด้านนั้น คนที่เอาชนะใจตนเองในด้านความ เกียจคร้านจนกลายเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร ย่อมทำ ให้เขามีผลงานที่เกิดจากแรงกาย แรงสติปัญญา ทำให้เขาได้รับความก้าวหน้า หรือสร้างฐานะการงาน ให้เจริญรุ่งเรือง และมีฐานะมั่นคงได้ คนที่เอาชนะ ใจตนเองในการถือศีลห้าให้บริสุทธิ์จนไม่มีที่ตำหนิ แล้ว ทางศาสนาพุทธระบุว่าคน ๆ นั้นย่อมเป็นพระ อริยะบุคคลขั้นโสดาบัน คนที่เอาชนะใจตนเองด้วย การมีจิตเมตตา แผ่เมตตาไปให้ทั้งมิตรและศัตรูโดย ไม่ประมาท ผลก็คือเขาจะเป็นคนมีเสน่ห์ มีผู้ที่รัก
และต้องการ คบหาสมาคมด้วย คนที่ชนะใจตนเองโดยหมั่นกระทำแต่คุณงามความดี มีความเสียสละ ให้แก่ประเทศ ชาติบ้านเมือง เขาย่อมได้รับเกียรติยกย่องจากคนในสังคม จัดว่าเป็นคนที่มีคุณค่าต่อ ประเทศชาติ คนที่มีแรงใจสูงเสียสละเพื่อการกอบกู้เอกราชของประเทศชาติ อาทิ สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จ พระเจ้าตากสิน ย่อมได้รับคำสรรเสริญจากประชาชนว่าเป็นพระมหาราช ผู้ที่จะสามารถ เอาชนะใจตนเอง ในทุก ๆ ด้าน ทางคริสต์ศาสนาเรียกว่า เป็นนักบุญ เป็นผู้ที่สืบสานต่อพระศาสนา ให้ยืนยาวไปถึงคนรุ่น ต่อ ๆ ไป คุณงามความดีนั้นเป็นที่ตราตรึงใจต่อศาสนิกชนในศาสนานั้น ๆ คนเราที่เกิดมาในโลกนี้ ก็เพื่อบำเพ็ญคุณงามความดี และเกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ชีวิตของคนเราเป็น ชีวิตแห่งการต่อสู้ เราจะต้องต่อสู้ไปจนตลอดชีวิต สิ่งที่สำคัญที่ควรจะต่อสู้เพื่อเอาชนะให้ได้ก็คือ ความทุกข์ ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่เกิดมาแล้วมีความสุขไปจนตลอดชีวิต วิถีชีวิตของคนเราจะต้องผจญกับ ปัญหาอุปสรรคมากมายหลายชนิด และเมื่อกล่าวโดยทั่วไปแล้ว คนเรามีความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ทางกายนั้นก็ย่อมมีการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ทางใจก็คือความทุกข์ที่เกิดจากความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ในการพลัดพรากจากคนที่เรารักหรือสิ่งที่เรารัก หรือไม่ก็เกิดจากสิ่งที่เรารักหรือคนที่เรา รักต้องพลัดพรากจากเราไป คนที่อยู่ในสังคมเมืองมักจะเต็มไปด้วยความรีบร้อนและความเครียด ถ้าไม่รู้จัก แก้ไขหรือบรรเทาความทุกข์ร้อน เช่น ความวิตกกังวล ความมีโทสะ ความโลภ ความวุ่นวายใจ ฯลฯ ชีวิตของคนเหล่านั้นย่อมหาเวลาที่สุขสงบได้ยาก จริง ๆ คนที่จะแก้ไขปัญหาชีวิตนั้น ลำพังเราไม่อาจแก้ไข สิ่งแวดล้อมได้ แต่มีอีกทางหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไขสิ่งแวดล้อมได้ แต่เป็นการแก้ไขตนเองให้มีจิตใจที่ เข้มแข็ง มีจิตตานุภาพที่เอาชนะอุปสรรคทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาในวิถีชีวิตของเรา เราเรียกคนที่ชนะอุปสรรค หรือทุกข์ใจว่า ผู้ที่ชนะใจตนเอง ดังที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าการเอาชนะใจตนเองเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องเล็ก และมีความสำคัญไม่ว่าเราจะอยู่ในสังคมใด ไม่ว่าจะเป็นสังคมเมือง หรือสังคมชนบท เพราะความทุกข์ ย่อมติดตามคนเราไปเสมอ เพราะมันติดไปกับใจของคนเรา การหนีทุกข์ด้วยวิธีใด ๆ ก็ไม่มีคุณค่าเท่ากับ สามารถเอาชนะใจตนเอง การเอาชนะใจตนเองจึงมีความสำคัญ ที่เราควรสร้างขึ้นมาให้จงได้ การที่เราจะชนะใจตนเองนั้น ขอให้เราจัดการกับตัวเรา กับสังคมที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดก็คือ สถาบัน ครอบครัว ให้มีความปกติสุข ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน ให้มีการเอื้อเฟื้อและรู้จักหน้าที่ที่มีและ กระทำไปตามหน้าที่ให้ดีที่สุด เช่น หน้าที่ของพ่อแม่มีอย่างใดก็ให้ทำหน้าที่นั้นอย่างดีที่สุด หรือถ้าเราเป็น บุตรหลาน เราก็ทำหน้าที่ของบุตรหลานให้ดีที่สุดเช่นกัน ซึ่งเป็นการแก้ไขตนเองอย่างง่าย ๆ ถ้าเราทำได้ ดังนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการเอาชนะใจตนเองในระดับหนึ่งแล้ว ต่อไปเมื่อเราไปสู่สังคมแวดล้อมที่กว้างขึ้น เช่น ในสถานศึกษา หรือที่ทำงาน ก็ให้เราปฏิบัติหน้าที่ของเราอย่าให้บกพร่อง ให้เต็มใจปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับ มอบหมายให้ดีที่สุด กล่าวคือ เมื่อเราเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาก็พยายามศึกษาเล่าเรียนให้ดีที่สุด ถ้าจะ ร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการศึกษาแล้วก็อย่าให้การเรียนเสีย เราต้องเรียนให้ดีและเล่นให้ดี ส่วนเมื่อเราต้องเข้าไปทำงานในหน่วยงานใดก็ให้เราทำหน้าที่ที่เราพึงทำให้ดี ให้เรียบร้อย รอบคอบ ส่วน ผลจะมีประการใดไม่ต้องคำนึงถึง คิดเสียว่าเรากำลังกระทำความดี ถ้าทำได้เพียงนี้ก็อาจเรียกได้ว่าเรา เอาชนะใจตนเองในเบื้องต้นได้แล้วอานิสงส์แห่งการเอาชนะใจตนเอง ก็คือเราย่อมเป็นคนที่มีคุณค่า ในสังคม พระสัมมาสัมพุทธเจ้านับเป็นผู้ที่เอาชนะจิตใจตนเองได้อย่างเด็ดขาด ในคืนวันแห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธองค์ ได้ทรงต่อสู้กับพญามารมีฤทธิ์และบริวารมากมาย แต่ก็ทรงเอาชัยชนะได้โดยลำพัง พระองค์เดียว ทรงชนะกิเลสตัณหาจนหลุดพ้นจากความเป็นปุถุชน กลายเป็นพระอรหันต์พระองค์แรก และทรงสั่งสอนศิลปะในการต่อสู้กับกิเลสตัณหาให้แก่พระสาวก จนเกิดเป็นพระอริยสงฆ์สืบต่อพระพุทธ ศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ในการต่อสู้กับกิเลสตัณหาหรือการต่อสู้เพื่อเอาชนะใจตนเองนั้น พระบรมศาสดาทรงวางแนวไว้คือ มรรคมีองค์ 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ความคิดชอบ ความเพียรชอบ อาชีพชอบ การทำชอบ การพูดชอบ สติชอบ และสมาธิชอบ เมื่อจะกล่าวโดยย่อ ๆ ก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

ไม่มีความคิดเห็น: