วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2551

การตกลงใจ

การตกลงใจหรือการตัดสินใจที่ถูกต้องเป็นการตรงข้ามกับความโลเลหรือความ กลัวผิดบางคนกว่า จะตัดสินใจอะไรสักทีก็ผัดผ่อนเวลาหรือปล่อยให้เวลาเป็นเครื่องตัดสินใจ หรือปล่อยงานล่าช้า จนเกิด ความเสียหายขึ้นได้บางคนก็ชอบยกการตัดสินใจหรือการตกลงใจให้กับคนอื่นอันแสดงถีงการขาดความ เขื่อมั่นในตนเองที่จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานโดยเฉพาะงานใหญ่ๆ หรืองานในตำแหน่งสูงๆ เขาต้องมีความกล้าหาญที่จำตกลงใจ หรือตัดสินใจไปในทางใด ทางหนึ่ง ที่เขาเห็นสมควรคนที่ไม่กล้า ตกลงใจก็ดี ไม่กล้าตัดสินใจก็ดี ไม่กล้าวินิจฉัยสั่งการอะไรลงไปก็ดี ย่อมไม่อาจเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่ง บริหารระดับสูงไปได้ เพราะความลังเลใจของเขา จะทำให้ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชาเห็นว่า เขาเป็นคนที่ ขาดความรับผิดชอบ หรือขาดความกล้าหาญในการตกลงใจ เมื่อผู้ใหญ่เห็นความอ่อนแอเช่นนี้ย่อมไม่ กล้ามอบหมายให้เขาเข้ารับตำแหน่งในการบริหารหรือเป็นหัวหน้าคนได้ การตกลงใจนั้น ในบางครั้งอาจตัดสินใจผิดพลาดไป แต่เราต้องกล้ารับผิดชอบ คนที่กล้ารับผิดชอบ โดยไม่ปัดความผิดไปให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมเป็นที่รักนับถือของผู้น้อย บุคคลสำคัญของไทยเรา ที่กล้าตกลงใจหรือกล้าตัดสินใจเด็ดขาด ที่อาจยกตัวอย่างให้เห็นได้คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทุกครั้ง ที่ท่านตัดสินใจท่านจะประกาศอยู่เสมอว่า " ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว " จริงอยู่ว่า บางครั้งที่ ท่านตัดสินใจผิดพลาดลงไป แต่ท่านก็ยอมรับผิด ไม่ปัดความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใต้บังคับ บัญชาเลย มีคำกล่าวว่า คนที่ทำงานไม่มีใครเลยที่จะไม่เคยทำผิดหรือทำพลาดลงไปบ้าง แต่เราต้องถือว่า " ความผิดเป็นครู หรือเป็นบทเรียนที่สอนไม่ให้เราผิดซ้ำอีก " พระเจ้านโปเลียนทรงตัดว่า คนที่ไม่เคย ทำผิดเลยคือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย การตกลงใจผิดยังดีกว่าการโลเลไม่ยอมตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงไป ทำไมจึงกล่าวว่าการตกลงใจหรือการตัดสินใจเป็นการเอาชนะใจตนเอง เช่น หนุ่มหรือสาวที่มีคนรัก ให้เลือก 2 คน และไม่อาจตัดสินใจได้ว่า จะเลือกเอาคนหนึ่งคนใด จะพบว่ามีความวิตกกังวลหรือ เดือดร้อนใจอยู่ตลอดเวลา จนกว่าเมื่อใดที่ตกลงเลือกเอาคนใดเป็นที่แน่นอนลงไป ก็จะทำให้เกิดความ โล่งใจได้ แต่ถ้าเป็นคนที่ลังเลใจ ไม่ยอมตัดสินใจให้เด็ดขาดลงไป ก็จะต้องวนเวียนคิดเป็นทุกข์เพราะ ไม่อาจเอาชนะจิตใจที่ไม่มั่นคงของตนเอง การตกลงใจในบางเรื่องต้องใช้ความกล้าหาญ และความ เด็ดเดี่ยว กล่าวว่าผู้ที่กล้าหาญ จำเป็นจะต้องรู้จักรับผิดชอบกล้าตัดสินใจหรือตกลงใจตามความคิดของ ตนเอง และเมื่อตนเองคิดว่าตนทำถูก โดยตัดสินใจลงไปแล้ว ก็ไม่ขลาดที่จะเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ที่จะ ตามมา กระบวนการของการตัดสินใจ หรือการตกลงใจในงานที่ยาก ๆ หรือในเหตุการณ์ที่ยากๆ นั้น เกิดจาก "การรู้จักไตร่ตรอง" บวกกับ "ความเป็นคนละเอียดละออ" นิสัย 2 อย่างนี้ทำให้เกิด " ความมีเหตุผลที่ ถูกต้อง " และนำไปสู่ " การตัดสินใจที่ถูกต้อง " การรู้จักไตร่ตรอง หมายถึงการรู้จักคิดทบทวนประเมินผล รู้จักคิดให้ลึกซึ้ง เพื่อหาว่าอะไรคือความจริง อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไรคือข้อที่ควรตัดสินใจ ความไตร่ตรองนี้มีประโยชน์หลายประการ กล่าวคือ ทำให้ เราฉลาดรู้เท่าทันคนอื่น แล้วยังทำให้เรามีความคิดเป็นของตัวเอง ทำให้ตรวจสอบการทำงานได้อย่างดี ทำให้เราสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ด้วยกำลังความคิดและไม่ตกเป็นเบี้ยล่างของใครง่าย ๆ " ความเป็นคนละเอียดละออ " หมายถึง ความไม่ประมาท และหมายถึงการรู้จักไตร่ตรอง ซึ่งจะทำให้ เราต้องมีสติ และเป็น คนที่สุขุมรอบคอบ จำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบการคิด พิจารณาอย่างรอบรู้ และ ถี่ถ้วน ความละเอียดลออจึงเป็นลักษณะที่สำคัญ และจำเป็นของบุคคลทั้งหลาย และยิ่งคนที่เป็น หัวหน้างานสูงขึ้นมีความรับผิดชอบมากขึ้น ความละเอียดละออก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นลำดับ ไม่เช่นนั้นก็อาจจะเกิดการผิดพลาดเสียหายได้มาก เพราะต้องรับผิดชอบงานใหญ่และ หลายประเภท ลูกน้องบางคนอาจสะเพร่า หรืออาจทำงานลวก ๆ เพื่อให้งานสักแต่ว่าผ่านไปได้ ในฐานะที่เป็นหัวหน้า จำเป็นต้องรู้จักตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูลให้ดีที่สุด จึงจะเป็นคนที่คุมคนอื่น ๆ ได้ "ความมีเหตุผลที่ถูกต้อง" หมายถึง การหาข้อมูลมาประกอบการพิจารณาในเรื่องที่จะต้องดำเนินงาน เมื่อเราได้ข้อเท็จจริงมาดีแล้วไตร่ตรองดีแล้ว ก็จะได้เหตุผลที่ถูกต้องออกมาเป็นผลลัพธ์ ซึ่งจะใช้ในการ อ้างอิงโต้เถียงกับผู้อื่น หรือใช้ในการงานประจำวันได้ ปัจจุบันคนเราได้รับการสั่งสอนมาแต่เด็กให้รู้จักหา เหตุผลที่ถูกต้อง นักวิทยาศาสตร์หรือนักปราชญ์สมัยนี้ ล้วนเป็นหนี้บุญคุณของเหตุผลต่าง ๆ ที่ นักวิทยาศาสตร์หรือนักปราชญ์รุ่นก่อนได้วางไว้ และคนส่วนใหญ่ในปัจจุบันในประเทศที่เจริญแล้ว ก็มัก จะไม่ยอมเชื่อถืออะไรง่าย ๆ ยกเว้นแต่จะมีเหตุผลพิสูจน์ให้เห็นจริงออกมาจึงยอมเชื่อ ยุคปัจจุบันจึง เป็นยุคแห่งการใช้เหตุผลซึ่งต่างกับยุคก่อน ๆ ในสมัยกลางซึ่งเป็นยุคแห่งความเชื่อถือศรัทธาที่ผู้ใดมีเหตุผล นอกรีตนอกรอยจากศาสนจักรก็อาจได้รับอันตรายได้ คุณสมบัติแต่ละอย่างที่เป็นองค์ประกอบของการตกลงใจ หรือ การตัดสินใจ ให้ถูกต้องจึงเป็นการเอา ชนะใจตนเองอีกอย่างหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: